Key Takeaways
สถาปัตยกรรมองค์กร หรือ Enterprise Architecture คือแนวคิดด้านกลยุทธ์องค์กร ที่ช่วยปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรให้เป็นระบบ กระจายงานได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
การใช้หลักสถาปัตยกรรมองค์กรจะช่วยแก้ปัญหาด้านการเชื่อมโยงข้อมูล และแก้ปัญหาคอขวดในองค์กร ช่วยให้การทำงานราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าโครงสร้างการทำงานที่เป็นระบบ เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้องค์กรเดินหน้าไปยังเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สถาปัตยกรรมองค์กร หรือ Enterprise Architecture เป็นอีกหนึ่งกรอบแนวคิดที่ช่วยให้องค์กรทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบมากขึ้น Backyard ขอพาทุกคนไปรู้จักกับแนวคิดนี้กันให้มากขึ้นว่า สถาปัตยกรรมองค์กรคืออะไร มีที่มาจากไหน และจะช่วยแก้ปัญหาองค์กรในด้านใดได้บ้าง
Enterprise Architecture หรือสถาปัตยกรรมองค์กรคืออะไร?

Enterprise Architecture (EA) หรือสถาปัตยกรรมองค์กร คือ กรอบแนวคิดด้านกลยุทธ์ที่ช่วยจัดระบบขั้นตอนการทำงานภายในองค์กร ทั้งข้อมูล บุคคล และเทคโนโลยี โดยมีกลยุทธ์และเป้าหมายขององค์กรเป็นปัจจัยกำหนด
นอกจากนี้ Enterprise Architecture ยังช่วยให้องค์กรมองเห็นภาพรวมการทำงานทั้งหมด ซึ่งจะช่วยให้การจัดการและการวางแผนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีการวางพิมพ์เขียวองค์กร (Enterprise Blueprint) แบ่งการทำงานตามแผนกต่าง ๆ และการวาง Roadmap เพื่อให้องค์กรวางแผนการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
วิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมองค์กร
ปี 1987 Zachman Framework
ในช่วงเริ่มต้นของการทำสถาปัตยกรรมองค์กร โดยพัฒนาตามกรอบแนวคิดแบบ Zachman Framework ซึ่งคิดค้นขึ้นโดย John Zachman ในปี ค.ศ. 1987 ซึ่งแนวคิดนี้ถือเป็นพื้นฐานของการทำสถาปัตยกรรมองค์ ช่วยแก้ไขความซับซ้อนของระบบในองค์กร และกำหนดแนวทางที่ชัดเจนผ่านมุมมองต่าง ๆ แบบรอบด้าน โดยจะเน้นที่การตั้งคำถามทั้ง 6 ด้าน และมุมมองผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 6 ด้าน ได้แก่
การตั้งคำถาม | มุมมองผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง |
อะไร (What) | ผู้บริหาร (Executive Perspective) |
อย่างไร (How) | ผู้จัดการธุรกิจ (Business Management Perspective) |
ที่ไหน (Where) | สถาปนิก (Architect Perspective) |
ใคร (Who) | วิศวกร (Engineer Perspective) |
เมื่อไร (When) | ช่างเทคนิค (Technician Perspective) |
ทำไม (Why) | ระดับองค์กร (Enterprise Perspective) |
ปี 1995 The Open Group Architecture Framework (TOGAF)
The Open Group Architecture Framework หรือ TOGAF เป็นกรอบความคิดในการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรที่เจาะลึกถึงรายละเอียดของการพัฒนาทฤษฎี ซึ่งจะมีอยู่ทั้งหมด 4 องค์ประกอบ ได้แก่
สถาปัตยกรรมด้านธุรกิจ (Business Architecture) ให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์องค์กร กระบวนการธุรกิจ และการกำกับดูแลกิจการ
สถาปัตยกรรมด้านข้อมูล (Data Architecture) ให้ความสำคัญกับโครงสร้างข้อมูล ทั้งด้านความเป็นเหตุเป็นผล (Logical) และในรูปแบบที่จับต้องได้ (Physical)
สถาปัตยกรรมด้านแอปพลิเคชัน (Application Architecture) ความสัมพันธ์และการเชื่อมโยงแอปพลิเคชันกับกระบวนการทางธุรกิจ
สถาปัตยกรรมด้านเทคโนโลยี (Technology Architecture) การใช้ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ สำหรับจัดการโครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศ (IT Infrastructure) ข้อมูล แอปพลิเคชัน และธุรกิจ
ปี 2002 Federal Enterprise Architecture (FEA)
กรอบความคิดที่ต่อยอดมากจาก NIST (National Institute of Standards and Technology) มีลักษณะคล้ายกับ TOGAF แต่จะให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนองค์กรตามเป้าหมายที่ชัดเจน และเปลี่ยนผ่านสู่สถาปัตยกรรมองค์กรในอนาคต
ปี 2011 TOGAF 9.1
TOGAF 9.1 เป็นกรอบความคิดของการทำสถาปัตยกรรมองค์กรที่พัฒนาจาก TOGAF เวอร์ชันแรกในปี 1995 โดยให้ความสำคัญกับการออกแบบ วางแผน ดำเนินการ และควบคุมการทำสถาปัตยกรรมองค์กรที่ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ มีองค์ประกอบหลักคือ Architecture Development Method (ADM) เป็นแนวทางในการพัฒนา และยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น Architecture Content Framework และ Enterprise Continuum
ปี 2020-ปัจจุบัน ยุคแห่ง Digital Transformation
ตั้งแต่ปี 2020-ปัจจุบัน Enterprise Architecture กลายเป็นแนวทางที่สำคัญสำหรับการเริ่มต้น Digital Transformation ในองค์กร ช่วยให้องค์กร ผสมผสานการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม เช่น Cloud Computing, Big Data และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
โดย EA ยุคใหม่จะเจาะจงไปที่ประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า การร่วมมือกันเป็น Digital Ecosystems และนวัตกรรมที่ทำให้เกิดความสามารถในการแข่งขัน
การจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรจะช่วยองค์กรได้อย่างไรบ้าง?

การจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรสามารถตอบโจทย์ในการแก้ไข 2 ปัญหาหลัก ๆ ดังนี้
1. ปัญหาด้านข้อมูล
สถาปัตยกรรมองค์กรถือเป็น ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็กหรือองค์กรใหญ่ ต่างก็มีข้อมูลจำนวนมากที่ต้องใช้สำหรับทำงานในแผนกต่าง ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มการทำงาน ก็มักจะแยกการจัดเก็บข้อมูลอย่างกระจัดกระจาย ไม่รับรู้ถึงรูปแบบการทำงาน หรือข้อมูลที่แต่ละแผนกใช้งานอยู่ ทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ไม่เชื่อมโยงกัน อาจเกิดปัญหาข้อมูลซ้ำซ้อน และอาจจะไม่สอดคล้องกับกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปในทุกวัน
สร้างเป้าหมายร่วมกัน สถาปัตยกรรมองค์กรช่วยวางเป้าหมายและกลยุทธ์ ด้วยการสร้างพิมพ์เขียวองค์กรที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ทุกแผนกเห็นภาพรวมของธุรกิจและงานที่จะต้องทำ ลดการต่างคนต่างทำงานได้ดียิ่งขึ้น
วางมาตรฐานขั้นตอนการทำงาน EA ช่วยสร้างมาตรฐานในการทำงานระหว่างแผนก ทั้งด้านหลักเกณฑ์ แพลตฟอร์ม และข้อมูลที่ต้องใช้ร่วมกัน ทำให้การสื่อสารและใช้ข้อมูลเป็นระบบมากยิ่งขึ้น
ปรับปรุงการสื่อสารและประสานงาน EA ช่วยวางแผนการใช้งานเครื่องมือและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน รวมถึงระบบที่ควรใช้สื่อสารระหว่างกัน ทำให้การสื่อสารราบรื่น ปัญหาด้านการประสานงานลดลง
รวมข้อมูลไว้ที่ศูนย์กลาง การออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กร ให้ความสำคัญกับการรวมข้อมูลไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อให้ทุกแผนกสามารถเข้าถึง และนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น
การทำงานระหว่างทีมสะดวกขึ้น EA ช่วยให้การทำงานร่วมกันระหว่างแผนกต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้น ลดช่องว่างระหว่างการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยี และยังช่วยให้ได้ความเห็นที่หลากหลายด้วย
2. ปัญหาคอขวดในการทำงาน
ปัญหาคอขวด (Bottleneck) ถือเป็นปัญหาใหญ่ ๆ ของหลายองค์กร ซึ่งทำให้ใช้เวลาในการทำงานนานกว่าปกติ ใช้งบประมาณมากกว่า กระทบต่อการทำงานภาพรวมขององค์กร เกิดปัญหากระบวนการทำงานล่าช้ากว่ากำหนด การเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ ได้ยากขึ้น ไปจนถึง Workload และความผิดพลาดที่พบได้บ่อยมากขึ้น
การใช้สถาปัตยกรรมองค์กรเป็นกรอบแนวคิดในการแก้ปัญหาคอขวด ทำได้ตั้งแต่การวิเคราะห์ภาพรวม และระบบการทำงาน การเชื่อมโยงการทำงานกับกลยุทธ์ (Strategic Alignment) ไปจนถึงการปรับปรุงการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีภายใน พร้อมติดตามการทำงาน เพื่อปรับปรุงให้เหมาะสม โดยมีกรอบการทำงานที่ชัดเจน
ต้องการปรับโครงสร้างองค์กรให้เป็นระบบ ให้ Backyard ช่วยแนะนำ
สำหรับองค์กรที่มองหาเครื่องมือ ที่ช่วยปรับโครงสร้างภายในตามหลักสถาปัตยกรรมองค์กร Backyard พร้อมให้บริการ FLOWARD แพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับพัฒนากลยุทธ์องค์กรในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร ระดับหัวหน้าแผนก ไปจนถึงระดับปฏิบัติการ โดยมี Dashboard สรุปการทำงานมากถึง 9 แบบ สำหรับการใช้งานในแผนกต่าง ๆ พร้อมเครื่องมือที่ช่วยลดเวลาการทำงาน ได้แก่
Vision Builder ตั้งเป้าหมายและวิสัยทัศน์จากสภาพแวดล้อม รับมือทุกความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกได้อย่างทันท่วงที
Enterprise Blueprint เครื่องมือสร้างพิมพ์เขียวองค์กรแบ่งกลุ่มการทำงาน เพื่อให้มองเห็นการทำงานของแต่ละฝ่าย รวมถึงข้อมูลและเทคโนโลยีที่ใช้ร่วมกัน
Design & Track Worksheet ใบงานติดตามงานของแต่ละบุคคล เชื่อมโยงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน ทำให้มองเห็นปัญหาแต่ละจุดอย่างชัดเจน
Strategic Roadmap เครื่องมือแบ่งระยะความสำเร็จ มองเห็นระยะเวลาทั้งหมดของการทำงาน เพื่อมุ่งไปสู่จุดหมายตามระยะเวลาที่กำหนด และต่อยอดสู่ความสำเร็จอื่น ๆ
องค์กรยุคใหม่ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างให้ตอบโจทย์ Digital Transformation สามารถติดต่อเรา หรือกรอกแบบฟอร์มด้านล่าง หรือทางช่องทางอื่น ๆ ที่
Email: sales@backyard.in.th
โทร. 02-853-9131 (ในเวลาทำการ 10:00 - 18:00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์)
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Backyard ได้ที่
Facebook: facebook.com/backyardTH
Linkedin: linkedin.com/company/backyardth
ที่มา