top of page
3.jpg
3.jpg

Agile คืออะไร? ทำไมองค์กรจึงควรเปลี่ยนตัวเองให้เป็น Agile Organization?


Agile คืออะไร? ทำไมองค์กรจึงควรเปลี่ยนตัวเองให้เป็น Agile Organization

สมัยนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Agile หลาย ๆ คนคงสงสัยว่าจริง ๆ แล้ว Agile คืออะไรกันแน่? วันนี้ Backyard จะพาทุกคนไปรู้จักกับวิธีการทำงานแบบ Agile ที่องค์กรของคุณควรทำ เพื่อเป็น Agile Organization ที่ประสบความสำเร็จ


Agile คืออะไร?

Agile คือกรอบแนวคิดและวิธีการทำงานที่ให้ความสำคัญกับการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยเฉพาะในสภาวะที่ไม่แน่นอน เพื่อให้ทีมหรือองค์กรสามารถทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นำไปสู่ผลลัพธ์สุดท้ายคือการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าหรือตลาดได้ในทันทีนั่นเอง


Agile แตกต่างจากวิธีการทำงานแบบดั้งเดิมอย่างไร?

โดยปกติแล้ว วิธีการทำงานแบบดั้งเดิมจะดำเนินในลักษณะ Top-Down Management หรือเส้นตรง หรืออธิบายง่าย ๆ คือ เราต้องทำขั้นตอนที่ 1 ให้เสร็จสิ้นก่อนถึงจะสามารถทำขั้นตอนที่ 2 ต่อไปได้ นั่นก็แปลว่าเราไม่สามารถข้ามลัดขั้นตอนได้เลยนั่นเอง

ในขณะที่วิธีการทำงานแบบ Agile นั้นจะเป็นการทำงานที่เน้นไปที่การส่งมอบงานอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพไปพร้อม ๆ กัน โดยไม่ได้เจาะจงว่าเราต้องใช้วิธีนี้หรือขั้นตอนนี้เท่านั้น นอกจากนี้การทำงานแบบ Agile ยังพยายามลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออกไปอีกด้วย โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) แต่ละฝ่ายจะสื่อสารกันเกี่ยวกับความคืบหน้าและฟีดแบคกันและกันอย่างสม่ำเสมอ


วิธีการทำงานแบบดั้งเดิมมีผลเสียอย่างไร?

จากที่อธิบายข้างต้นว่าวิธีการทำงานแบบดั้งเดิมนั้นมักจะเป็นแบบ Waterfall หรือต้องดำเนินแบบเป็นขั้นเป็นตอนตามที่ได้วางแผนไว้ ผลเสียที่ตามมาก็คือการทำงานของทีมหรือองค์กรจะเป็นไปอย่างล่าช้า เพราะแต่ละฝ่ายต่างต้องรออีกฝ่ายทำงานส่วนนั้น ๆ เสร็จซะก่อน นอกจากนี้ยังอาจทำให้ทีมหรือองค์กรไม่สามารถรับรู้ข้อผิดพลาดและแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วย


จะเปลี่ยนองค์กรให้เป็น Agile Organization ได้อย่างไร?

หลักการสำคัญของ Agile มี อยู่ 4 อย่างด้วยกัน ได้แก่

  1. Customer Centricity: ให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นอันดับแรกและเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งที่ทีมหรือองค์กรทำ

  2. Lean: ลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็นออกไป เพื่อทำให้การทำงานง่าย สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น

  3. Technology: นำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการทำงานเพื่อผลักดันให้เกิดการทำงานในดิจิทัลมากขึ้น

  4. Culture: มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีที่เปิดกว้าง พร้อมส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นหรือไอเดียใหม่ ๆ รวมถึงมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ


ประโยชน์ของ Agile

  1. Adaptability: แนวความคิดแบบ Agile ทำให้ทีมหรือองค์กรมีรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น พร้อมปรับตัวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

  2. Delivery Speed to Market: การทำงานแบบ Agile จะช่วยให้องค์กรสามารถเร่งความเร็วในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการให้มีคุณภาพ พร้อมตอบสนองความต้องการของลูกค้าในระยะเวลาอันรวดเร็วได้

  3. Risk Reduction: การมีโครงสร้างและกระบวนการที่สอดคล้องกันทั้งองค์กรจะช่วยให้เห็นถึงความต้องการที่แท้จริง รวมไปถึงปัญหาต่าง ๆ ดังนั้นทีมหรือองค์กรจึงสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที หรือลดความรุนแรงของปัญหาหรือความเสี่ยงลงได้

  4. Maximizing Employee Potential: การทำงานแบบ Agile จะทำให้พนักงานได้ทำงานกับเพื่อนร่วมงานจากหลากหลายทีมหรือแผนก สิ่งนี้จะช่วยให้พนักงานได้พัฒนาทักษะและความสามารถของตนเอง นอกจากนี้การเปิดกว้างทางความคิดจะช่วยส่งเสริมให้พนักงานได้แสดงศักยภาพ ฝึกฝน และเก็บเกี่ยวประสบการณ์การทำงานมากขึ้น


เป็นอย่างไรกันบ้าง รู้จัก Agile กันมากขึ้นแล้วใช่ไหมล่ะ? ประโยชน์มากมายขนาดนี้ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่องค์กรมากมายได้เปลี่ยนตนเองให้เป็น Agile Organization

สำหรับครั้งหน้า Backyard จะมาพูดถึงวิธีการเปลี่ยนองค์กรให้เป็น Agile Organization ในแบบฉบับของเรา แบบ Step by step กันไปเลย! ถ้าใครอยากรู้ อย่าลืมติดตามพวกเราต่อกันด้วยนะ~


สนใจเปลี่ยนองค์กรให้เป็น Agile Organization?

FLOWARD เครื่องมือช่วยในการเปลี่ยนองค์กรให้เป็น Agile Organization จากบริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด (Backyard)

ที่ Backyard เรามีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำแนะนำอย่างมืออาชีพ นอกจากนี้เรายังมีเครื่องมือ FLOWARD ที่จะช่วยให้คุณสามารถปรับเปลี่ยนการทำงานขององค์กรให้เป็น Agile ได้แบบง่าย ๆ สามารถพูดคุยหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลยที่ โทร. 02-853-9131 หรือ info@backyard.in.th หรือกรอกแบบฟอร์มที่นี่ แล้วเราจะรีบติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด


สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Backyard ได้ที่



Comments


3.jpg

พร้อมที่ยกระดับองค์กรขึ้นอีกขั้นแล้วหรือยัง?

​ติดต่อทีมงานผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับคำปรึกษา

อีเมล

เวลาทำการ

วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 10:00 - 18:00 น.

โทรศัพท์

02-853-9131

bottom of page