top of page
Asset 2x20.png

RPA จะแย่งงานคนหรือไม่


ด้วยคุณสมบัติของ Robotic Process Automation หรือ RPA ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ในกลุ่มธุรกิจว่าเป็นตัวช่วยสำคัญที่เสริมศักยภาพของธุรกิจ ทั้งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานด้วยการลดข้อผิดพลาดในการทำงานจากปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อมนุษย์ และการลดต้นทุนต่าง ๆ ในระยะยาว RPA จึงเป็นเทคโนโลยีที่เหล่าผู้บริหารสนใจนำไปพัฒนาอย่างมาก ธุรกิจต่าง ๆ จึงมีการลงทุนใน RPA เพิ่มขึ้น จนทำให้ตลาดซอฟต์แวร์ RPA ในปี 2021 ที่ผ่านมาเติบโตสูงถึง 31% การที่ RPA ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายเช่นนี้ จึงเกิดคำกล่าวที่ว่า “Machines are coming to take our jobs” ซึ่งคำกล่าวนี้จะเป็นจริงหรือไม่ อย่างไรนั้น Backyard จะมาเล่าให้ฟัง


การทำงานของมนุษย์ในยุค Technology Disruption

เมื่อ RPA ถูกออกแบบมาให้ทำงานซ้ำซ้อนแทนคนได้อย่างแม่นยำ และนับวันเทคโนโลยีนี้ยิ่งถูกพัฒนาให้มีความสามารถมากยิ่งขึ้น จนหลาย ๆ คนกลัวว่ามนุษย์เราอาจไม่สามารถเติบโตก้าวหน้าและประสบความสำเร็จในโลกของการทำงานได้อีกต่อไป หรือแม้กระทั่งวันหนึ่งหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติอาจจะเข้ามาแย่งงานทั้งหมดของมนุษย์

Backyard ขอบอกเลยว่าในความเป็นจริงแล้ว RPA ไม่สามารถทำงานแทนมนุษย์ได้อย่างเต็มรูปแบบ เพราะ RPA จะทำงานตามที่ถูกตั้งค่าระบบไว้เท่านั้น มันไม่สามารถคิดซับซ้อนหรือตัดสินใจเช่นมนุษย์เราได้ แต่มนุษย์อย่างเราก็ไม่ควรประมาท และควรหมั่นพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ให้กับตัวเองอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ ซึ่งตามรายงาน “The Future of Jobs Report 2018” ของ World Economic Forum ได้ระบุว่า 54% ของแรงงานทั้งหมดต้องได้รับการพัฒนาทักษะทั้ง Reskill และ Upskill ไม่เว้นแม้แต่แรงงานไทย มาดูกันว่าถ้าอยากประสบความสำเร็จในยุค Technology Disruption นี้ มนุษย์เราควรพัฒนาทักษะอะไรบ้าง

  • ทักษะด้านเทคนิค (Technical Skill) เป็นความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเกี่ยวกับงาน โดยเน้นด้านการคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงนวัตกรรม และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ยิ่งคุณมีทักษะเฉพาะทางที่จำเป็น หรือมีความ Specialist สำหรับงานของคุณมากแค่ไหน คุณยิ่งเป็นที่ต้องการมากแค่นั้น

  • ทักษะด้านคน (Human Skill) เป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทัศนคติ การสื่อสาร การทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยเน้นเรื่องของความเข้าใจในอารมณ์และจิตใจของผู้อื่น ซึ่งทักษะนี้ถือเป็นข้อได้เปรียบของมนุษย์ เพราะหุ่นยนต์หรือระบบอัตโนมัติไม่สามารถเรียนรู้และแทนที่มนุษย์ในส่วนนี้ได้


RPA ไม่ใช่ศัตรู แต่เป็นผู้ช่วยฝีมือดีของคุณ

เราควรพัฒนาทักษะทั้ง 2 อย่างข้างต้น ควบคู่ไปกับการปรับทัศนคติให้รู้จักการทำงานโดยอาศัยประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพราะจริง ๆ แล้ว RPA ไม่ใช่ศัตรูของคุณ แต่เป็นผู้ช่วยที่จะทำให้การทำงานของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม เพราะ RPA ถูกสร้างมาเพื่อช่วยงานซ้ำซ้อนของมนุษย์ คุณจึงไม่ต้องเสียเวลาทำงานในรูปแบบซ้ำ ๆ ที่ใช้ระยะเวลานาน ๆ อีกต่อไป ทำให้คุณมีโอกาสได้แสดงศักยภาพและทำงานที่มีคุณค่ามากกว่า รวมถึงมั่นใจได้ว่า RPA จะช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดจากการทำงานซ้ำซ้อนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี


แนวทางขององค์กรในการนำ RPA เข้ามาใช้

ก่อนนำ RPA เข้ามาใช้ในองค์กร ผู้บริหารระดับ Top Management ขององค์กรควรมีการถ่ายทอดทัศนคติ (Mindset) ที่ดีที่ถูกต้องในการทำงานร่วมกับ RPA ให้แก่พนักงานระดับปฏิบัติการ เพื่อให้พนักงานเข้าใจถึงประโยชน์ที่แท้จริงของ RPA จนเกิดความต้องการที่จะทำงานร่วมกับ RPA นอกจากนี้องค์กรควรมีการวางกลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีให้เหมาะกับงานและกำลังคนขององค์กร เพื่อให้การทำงานระหว่างมนุษย์และเทคโนโลยีเป็นไปได้อย่างราบรื่น และเมื่อมีการนำ RPA เข้ามาใช้แล้ว องค์กรก็ควรมีการวางแผนเพื่อดึงศักยภาพของพนักงานในด้านอื่น ๆ ออกมา เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจต่อไป

ได้อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คงจะสบายใจกันมากขึ้นแล้วใช่ไหม เพราะสุดท้ายแรงงานมนุษย์จะยังคงเป็นทรัพยากรสำคัญที่องค์กรต้องการอยู่ดี แต่ที่สำคัญที่สุดคือมนุษย์อย่างเราก็ไม่ควรหยุดพัฒนาตัวเองนั่นเอง


ตาคุณแล้ว

สำหรับองค์กรไหนที่ต้องการนำ RPA เข้ามาใช้ อย่าลืมเลือก RPA ที่ใช่ให้ตอบโจทย์กับธุรกิจของคุณ ให้ BYpass เป็น RPA ที่จะเป็น Solution อันชาญฉลาดในการขับเคลื่อนองค์กรของคุณให้เติบโตอย่างยั่งยืน ที่ Backyard เราพร้อมให้คำแนะนำอย่างมืออาชีพ สามารถพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของเรา หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ BYpass RPA ได้ที่ โทร. 02-853-9131 หรือ info@backyard.in.th หรือกรอกแบบฟอร์มที่นี่ แล้วเราจะรีบติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด


อ้างอิงข้อมูลจาก



bottom of page