<![CDATA[Backyard]]>https://www.backyard.in.th/news-and-articleRSS for NodeSun, 19 May 2024 00:55:02 GMT<![CDATA[นโยบายความเป็นส่วนตัว]]>https://www.backyard.in.th/post/%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A765f024489880640f13de59d8Tue, 12 Mar 2024 09:45:58 GMTArun Chaivipasบริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด




]]>
<![CDATA[นโยบายการใช้คุกกี้ ]]>https://www.backyard.in.th/post/%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%8965efd087e71e7cf7e518f50eTue, 12 Mar 2024 03:51:38 GMTArun Chaivipasปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 10 มีนาคม 2566






]]>
<![CDATA[ประกาศแจ้งเตือน การแอบอ้างชื่อและข้อมูลของบริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด เพื่อหลอกลวงประชาชน]]>https://www.backyard.in.th/post/annoucement-fraud-alert-notice-120620236527900ad39749fa1751d827Fri, 13 Oct 2023 03:37:00 GMTkornkanoksu

ตามที่บริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด ได้ตรวจสอบพบว่ามีกลุ่มมิจฉาชีพได้แอบอ้างว่าเป็นบริษัทภายใต้เครือ บริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด (บริษัทฯ) เพื่อชักชวนให้ร่วมลงทุนในธุรกิจ eCommerce โดยใช้ชื่อและที่อยู่ของบริษัทฯ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดและหลงเชื่อ บริษัทฯ ขอยืนยันว่าบริษัทฯ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับธุรกิจดังกล่าว และกำลังตรวจสอบเพื่อดำเนินการทางกฎหมาย


นอกจากนี้บริษัทฯ ขอชี้แจงว่าบริษัทภายใต้เครือแบ็คยาร์ดมีเพียง 2 บริษัท คือ บริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด และ บริษัท เมดคิวรี จำกัด เท่านั้น และบริษัทฯ ไม่มีนโยบายชักชวนให้ร่วมลงทุนในธุรกิจ eCommerce หากมีบุคคลหรือหน่วยงานใดแอบอ้างว่าเป็นบริษัทภายใต้เครือแบ็คยาร์ด โปรดอย่าหลงเชื่อและร่วมลงทุนโดยเด็ดขาด


ทั้งนี้ หากท่านสงสัยหรือพบความปกติ สามารถสอบถามหรือแจ้งข้อมูลผ่านเพจ Facebook : Backyard หรือ โทร. 02-853-9131 หรืออีเมล info@backyard.in.th หรือกรอกแบบฟอร์มที่นี่


ขอแสดงความนับถือ

บริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด

12 ตุลาคม 2566



]]>
<![CDATA[8 เคล็ด(ไม่)ลับในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วย]]>https://www.backyard.in.th/post/8-key-steps-to-protect-patient-data-and-information651a2b77ed657374b0855877Mon, 02 Oct 2023 02:50:27 GMTkornkanoksu

ในปัจจุบันนี้หลาย ๆ โรงพยาบาลได้เปลี่ยนรูปแบบการเก็บข้อมูลของผู้ป่วยจากแผ่นกระดาษมาอยู่ในระบบออนไลน์กันเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และลดต้นทุนต่าง ๆ มากมาย อย่างไรก็ตามเมื่อข้อมูลเหล่านี้อยู่บนออนไลน์ก็ยิ่งเป็นสิ่งที่ดึงดูดเหล่าโจรไซเบอร์ได้เป็นอย่างดี วันนี้ MEDcury เลยขอมาแชร์ 8 ทริคที่จะช่วยให้โรงพยาบาลสามารถปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยให้ปลอดภัยจากการโจรกรรมข้อมูลทางไซเบอร์ จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย


1️⃣ ปฏิบัติตาม 3 กฎหมาย : HIPAA, GDPR และ PDPA

นอกจากกการมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการให้บริการแก่ผู้ป่วยแล้ว โรงพยาบาลยังควรต้องมุ่งเน้นที่จะปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วยอีกด้วย โดยมี 3 กฎหมายที่ถือเป็นแนวทางปฏิบัติพื้นฐานในการปกป้องคุ้มครองข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วยที่โรงพยาบาลจำเป็นต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ได้แก่ HIPAA, GDPR และ PDPA เพื่อให้การจัดเก็บ การใช้ และการส่งต่อข้อมูลสุขภาพภายใต้การคุ้มครอง (Protected Health Information : PHI) เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด มิเช่นนั้นแล้วโรงพยาบาลอาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายได้ หากอยากรู้จักกฎหมายเหล่านี้เพิ่มขึ้นสามารถอ่านได้ที่นี่เลย! https://bit.ly/3RMYbYZ


2️⃣ ฝึกอบรมบุคลากร

หากเจ้าหน้าที่พนักงานทำงานผิดพลาดหรือประมาทเลินเล่อแม้เพียงเล็กน้อย หรือไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการปกป้องข้อมูลของลูกค้า สิ่งเหล่านี้ก็อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายครั้งใหญ่ต่อโรงพยาบาลได้ การฝึกอบรมในประเด็นด้านความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วยให้แก่เจ้าหน้าที่พนักงานจึงถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจสำหรับการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง การตัดสินใจอย่างชาญฉลาด และเพิ่มความตระหนักในการจัดการข้อมูลของผู้ป่วยเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวอย่างระมัดระวังได้อย่างเหมาะสม


3️⃣ จำกัดการเข้าถึงข้อมูลและยืนยันตัวตนทุกครั้งเมื่อต้องการเข้าถึงข้อมูล

การจำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วยให้เฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเท่านั้นถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการปกป้องข้อมูล เพราะเป็นการคัดผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออก และเปิดเผยข้อมูลให้เฉพาะบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น อย่างไรก็ตามแม้จะมีการจำกัดสิทธิ์แล้ว แต่การเข้าถึงแต่ละครั้งก็ยังควรมีการยืนยันตัวตนของผู้เข้าถึงอีกครั้งโดยใช้ Multi-Factor Authentication กล่าวคือนอกจากการเข้าถึงด้วย Username และ Password แล้ว ยังจะมีการตรวจสอบอีกครั้งโดยใช้สิ่งยืนยันตัวตนต่าง ๆ เช่น รหัส PIN คีย์การ์ด หรือแม้แต่การใช้ Biometrics อย่างการสแกนใบหน้า สแกนลายนิ้วมือ หรือสแกนดวงตา เป็นต้น เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ที่เข้าถึงนั้นเป็นตัวจริง ไม่ใช่การสวมรอยหรือแอบอ้าง


4️⃣ ควบคุมการใช้ข้อมูล

บางครั้งแค่จำกัดการเข้าถึงและยืนยันตัวตนอาจไม่เพียงพอ แต่ต้องมีการควบคุมกิจกรรมด้านข้อมูลต่าง ๆ ที่อาจมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายด้วย เช่น การอัปโหลดลงบนเว็บ การส่งอีเมลโดยไม่ได้รับอนุญาต การคัดลอกไปยังไดรฟ์ภายนอก หรือการพิมพ์เอกสาร เป็นต้น ซึ่งการจะควบคุมกิจกรรมเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสมนั้นจะต้องมีการทำ Data Discovering และ Data Classification เสียก่อน เพื่อสำรวจ หาความหมาย และจัดแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่มตามการใช้งาน และมูลค่าของข้อมูลแต่ละชนิด เพื่อให้ระบบสามารถระบุได้ว่าข้อมูลนี้ควรได้รับการป้องกันในระดับใด


5️⃣ บันทึกประวัติการเข้าถึง

บันทึกประวัติการเข้าถึงก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะทำให้เราสามารถตรวจสอบได้ว่ามีผู้ใช้รายใดบ้างที่เข้าถึงข้อมูลนี้ และเข้าถึงเมื่อไหร่ จากอุปกรณ์ใด ที่ตำแหน่งใด หากมีการเข้าถึงที่ผิดปกติ โรงพยาบาลก็อาจเตรียมมาตรการป้องกันไว้ได้ทัน หรือหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นก็สามารถใช้บันทึกนี้ในการชี้ตัวผู้ก่อเหตุ ระบุสาเหตุ และประเมินความเสียหายได้


6️⃣ เข้ารหัสข้อมูล

การเข้ารหัสข้อมูลหรือ Data Encryption ถือเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการปกป้องข้อมูลของโรงพยาบาล รวมไปถึงทุก ๆ องค์กรด้วย โดยข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสจะปลอดภัยทั้งในขณะที่ส่งต่อ หรือแม้แต่ในขณะที่ไม่ได้ใช้งาน ถึงแม้ผู้โจมตีทางไซเบอร์จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ แต่การถอดรหัสข้อมูลนั้นทำได้ยากมาก ๆ จนถึงขั้นเป็นไปไม่ได้เลยด้วยซ้ำ ดังนั้นการเข้ารหัสข้อมูลถือเป็น A MUST ที่โรงพยาบาลควรทำอย่างยิ่ง


7️⃣ ประเมินความเสี่ยงเป็นประจำ

การประเมินความเสี่ยงเป็นประจำจะทำให้โรงพยาบาลสามารถระบุจุดอ่อนหรือจุดอ่อนในด้านต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบการรักษาความปลอดภัยขององค์กร ความรู้และความเข้าใจของเจ้าหน้าที่พนักงาน ความน่าเชื่อถือและพฤติกรรมของพันธมิตรทางธุรกิจ และประเด็นอื่น ๆ ที่น่ากังวล การประเมินความเสี่ยงเป็นประจำเช่นนี้จะเป็นการป้องกันเชิงรุก และช่วยลดความเสี่ยงในการละเมิดข้อมูลและความเป็นส่วนตัวได้ ถือเป็นการหลีกเลี่ยงผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจตามมาจากการละเมิดความเป็นส่วนหรือรั่วไหลของข้อมูล ตั้งแต่ความเสียหายต่อชื่อเสียง รวมไปถึงบทลงโทษจากหน่วยงานกำกับดูแล


8️⃣ สำรองข้อมูลแบบ Offsite

การสำรองข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็น ไม่ใช่แค่เพราะเพื่อกู้คืนความเสียหายในกรณีที่ถูกโจมตีทางไซเบอร์ แต่ยังสามารถกู้คืนความเสียหายจากเหตุการณ์ไม่คาดคิดอย่างภัยธรรมชาติที่อาจกระทบต่อศูนย์จัดเก็บข้อมูลได้อีกด้วย ดังนั้นโรงพยาบาลจึงควรมีการสำรองข้อมูลที่เหมาะสม ซึ่งการสำรองข้อมูลแบบ Offsite ถือเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ โดยโรงพยาบาลควรสำรองข้อมูลผ่านระบบที่ปลอดภัยรัดกุม และทริคที่สำคัญคืออย่าลืมที่จะสำรองข้อมูลบ่อย ๆ ด้วย เพื่อให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันที่สุดนั่นเอง


เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับ 8 เคล็ด(ไม่)ลับที่เรานำมาฝาก รู้ประโยชน์กันไปขนาดนี้แล้ว อย่าลืมนำไปใช้กันด้วยนะ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยสูงสุดในการจัดเก็บข้อมูลให้กับโรงพยาบาลของคุณ และสำหรับใครที่อยากพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพ สามารถพูดคุยกับพวกเรา MEDcury ได้ที่ 02-853-9131 หรือ support@medcury.health หรือกรอกแบบฟอร์มที่นี่ แล้วเราจะรีบติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด


สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับพวกเรา MEDcury ได้ที่

Website – https://www.medcury.health

Facebook – facebook.com/medcury.health/

Linkedin – linkedin.com/company/medcury


อ้างอิงข้อมูลจาก

https://digitalguardian.com/blog/healthcare-cybersecurity-tips-securing-private-health-data


]]>
<![CDATA[การบริหารจัดการบุคลากรในองค์กรด้วย RPA]]>https://www.backyard.in.th/post/human-resource-management-hrm-rpa-bypass650a565cf7e57efa816b5277Sat, 23 Sep 2023 02:01:44 GMTkornkanoksu

บริหารจัดการบุคลากรในองค์กรด้วย BYpass RPA จากบริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด เพื่อรักษาพนักงานขององค์กร และดึงดูดพนักงานใหม่

บริษัทส่วนใหญ่ย่อมรู้ดีว่าการที่พนักงานลาออกนั้นก่อให้เกิดต้นทุนด้านบุคลากรที่สูงขึ้น ทุกบริษัทจึงแทบไม่อยากให้พนักงานฝีมือดีของตนเองลาออกจากองค์กร แต่ในปัจจุบัน ผลสำรวจของ WorkVenture ได้ชี้ชัดว่าสิ่งที่พนักงานคาดหวังกลับไม่ใช่แค่เงินเดือน สวัสดิการ หรือไลฟ์สไตล์การทำงานที่ดีอีกต่อไปแล้ว แต่ยังมีเรื่องความสามารถด้านเทคโนโลยีของบริษัทด้วย โดยหนึ่งในเทคโนโลยีพนักงานต้องการนั่นก็คือ “Robotic Process Automation หรือ RPA” ที่จะเข้ามาช่วยในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น Backyard จะพาไปดูว่า RPA สำคัญกับการรักษาพนักงานขององค์กร และการดึงดูดพนักงานใหม่อย่างไร


'งานซ้ำซ้อน' ศัตรูตัวฉกาจของเหล่าพนักงาน

งานซ้ำซ้อนน่าเบื่อถือเป็นอุปสรรคในการทำงานหลักและลด Productivity ของพนักงานลง เพราะพนักงานต้องทำงานรูปแบบเดิมซ้ำ ๆ ไร้ซึ่งความท้าทาย และไม่มีพื้นที่ให้พนักงานได้แสดงศักยภาพที่แท้จริงของตนเอง นอกจากนี้งานประเภทนี้ยังถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พนักงานเหนื่อยล้าและเสียสมาธิจนก่อให้เกิด Human Error อีกทั้งพนักงานยังต้องเสียเวลากว่า 37.5% ของชั่วโมงทำงานต่อวันเพื่อทำงานเหล่านี้ อาจดูเหมือนไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่รู้หรือไม่ว่าผลสำรวจจาก OnePoll Independent Research Group ที่เป็นข้อมูลเชิงลึกที่ได้รับมาจากการสัมภาษณ์พนักงานออฟฟิศ 10,500 คนจากบริษัทใน 11 ประเทศทั่วโลก พบว่ากว่า 55% ของพนักงานนั้นได้พิจารณาที่จะลาออกจากงาน หากต้องทำงานเอกสารแบบ Manual มากเกินไป ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น่ากลัวทีเดียว


ผลเสียที่ตามมาเมื่อเหล่าพนักงานลาออก

ผลที่ตามมาจากการลาออกของพนักงานคือต้นทุนในการสรรหาพนักงานใหม่ และต้นทุนในการพัฒนาพนักงานที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงค่าเสียโอกาสและความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาจมากกว่าต้นทุนในการรักษาพนักงานเดิมไว้ด้วยซ้ำ ดังนั้นจะดีกว่าไหมถ้าเราอุดรอยรั่วนี้ด้วยการนำเทคโนโลยี RPA เข้ามาใช้ตั้งแต่แรก เพื่อลดการทำงานซ้ำซ้อน และเปิดโอกาสให้พนักงานได้ทำงานที่มีคุณค่ามากกว่า สู่ผลลัพธ์ปลายทางอย่างการลดอัตราการลาออกนั่นเอง


RPA ตัวช่วยดึงดูดคนเก่งที่ใช่เข้ามาทำงานในบริษัท

ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่าพนักงานส่วนใหญ่กว่า 85% นั้นต้องการทำงานในบริษัทที่ลงทุนในระบบอัตโนมัติ (Automation) ที่ช่วยลดงานซ้ำซากจำเจนี้อีกด้วย รวมถึงผลสำรวจจาก PwC ก็ได้ระบุว่า RPA สามารถทำงานได้ถูกต้อง 100% ในขณะที่มนุษย์นั้นกลับเสียสมาธิจากการทำงานประเภทนี้ จนแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่พนักงานจะสามารถทำงานประเภทนี้ได้แบบไม่ผิด ไม่ขาด ไม่เกิน จึงไม่แปลกที่ Talent คนรุ่นใหม่อยากเข้ามาร่วมงานกับองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนในเทคโนโลยี โดยเฉพาะ RPA ที่เป็นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์กับปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนน่าเบื่อของพนักงานมากที่สุด


เห็นแล้วใช่ไหมล่ะว่า นอกจาก RPA จะมีประโยชน์ในการเพิ่มกำไรหรือลดต้นทุนให้แก่องค์กรแล้ว ยังมีประโยชน์ในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานให้แก่พนักงานเพื่อรักษาบุคลากรที่มีความสามารถเอาไว้ รวมถึงดึงดูดพนักงานเก่ง ๆ ให้มาร่วมงานด้วย เรียกได้ว่าเป็นตัวช่วยสำคัญในการทำ Talent Attraction ให้แก่องค์กรเลยทีเดียว


สนใจนำ RPA เข้ามาใช้ในองค์กร?

BYpass RPA จากบริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด นวัตกรรมตัวช่วยเพื่อรักษาพนักงานขององค์กร และดึงดูดพนักงานใหม่

สำหรับใครที่สนใจนำ RPA เข้ามาใช้ในองค์กร หรือมีข้อคำถามสงสัยเกี่ยวกับ RPA ให้ Backyard ช่วยแนะนำ สามารถพูดคุย ปรึกษา ขอข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่ โทร. 02-853-9131 หรือ info@backyard.in.th หรือกรอกแบบฟอร์มที่นี่ และอย่าลืมเลือก RPA ที่ใช่ให้ตอบโจทย์กับธุรกิจของคุณ


สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Backyard ได้ที่

Facebook – facebook.com/backyardTH/

Linkedin – linkedin.com/company/backyardth/


]]>
<![CDATA[Backyard จับมือ Odoo เปิดตัวโซลูชั่นใหม่ ‘Modular ERP’ตอบโจทย์ระบบ ERP คุณภาพสูงในราคาที่เข้าถึงได้]]>https://www.backyard.in.th/post/backyard-x-odoo-enterprise-resource-planning-modular-erp-business-collaboration650a468283eff4dd89c75dadWed, 20 Sep 2023 02:55:25 GMTkornkanoksu

‘Backyard’ จับมือ ‘Odoo’ พาร์ทเนอร์ระดับโลก ขยายบริการและโซลูชั่นใหม่ ‘Modular ERP’ ตอบโจทย์ระบบ ERP ในราคาที่เข้าถึงได้ พร้อมนำ BYpass RPA ผนวกเข้าช่วยยกระดับประสิทธิภาพสูงสุด


บริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด (Backyard) ผู้พัฒนา Core Technology เพื่อใช้ในการต่อยอดโซลูชันต่าง ๆ เปิดตัวบริการใหม่ ‘Modular ERP’ โดยจับมือกับพาร์ทเนอร์ ‘Odoo’ บริษัทชื่อดังระดับโลก ผู้พัฒนา Open-source Software สำหรับธุรกิจแบบครบวงจร โดยเฉพาะระบบ Enterprise Resource Planning หรือ ERP ที่เป็นบริการขึ้นชื่อ พร้อมมุ่งนำเสนอระบบ ERP ที่สามารถปรับเปลี่ยนตามการใช้งานของแต่ละธุรกิจได้อย่างเหมาะสม หวังให้ผู้ประกอบการไทยเข้าถึงระบบ ERP ได้ในราคาที่เป็นมิตร เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการธุรกิจของตนเองได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพสูงสุด


นายจตุพล ชวพัฒนากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แบ็คยาร์ด จํากัด และกลุ่มบริษัทในเครือ กล่าวว่า บริการ ‘Modular ERP’ นี้ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงตัวเลือก (Module) มากมาย แบบครบวงจรจาก Odoo และสามารถพัฒนา Module เหล่านี้ให้ตอบโจทย์กับความต้องการขององค์กรได้อย่างเหมาะสมที่สุดโดยทีมพัฒนาผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปีจาก Backyard นอกจากนี้ระบบนี้ยังพร้อมทำงานร่วมกับระบบ Automation หรือ Data Platform ต่าง ๆ ของผู้ประกอบการอีกด้วย โดยการเปิดให้เข้าถึงข้อมูลในระบบ ERP ผ่านทาง API หรือ Data Streaming ผ่าน Data Platform เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ในงานด้าน AI หรือ BI ได้นั่นเอง ยิ่งไปกว่านั้นทาง Backyard ยังพร้อมยกระดับประสิทธิภาพของระบบ ERP ด้วยการนำ ‘BYpass’ ระบบ Robotic Process Automation ของบริษัทเข้ามาช่วยรองรับ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลจากระบบ ERP นี้ไปใช้งานต่อในระบบอื่น ๆ ได้อย่างสะดวกสบายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยลดภาระงานซ้ำซ้อน เพิ่มความแม่นยำในการทำงาน และลดความผิดพลาดในการทำงานจากการเชื่อมต่อนี้ และพวกเรามุ่งมั่นเป็นอย่างยิ่งที่จะนำเสนอการบริการและการดูแลที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ประกอบการอีกด้วย


ทั้งนี้ Odoo เป็นบริษัทผู้พัฒนา Open Source Integrated Business Apps Suite อันดับต้น ๆ ของโลก ซึ่งไม่เพียงแต่เชี่ยวชาญเรื่องระบบ ERP แต่ยังครอบคลุมไปถึงระบบ CRM, e-Commerce และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งครอบคลุมทุกความต้องการของธุรกิจในปัจจุบัน ด้วยความเชี่ยวชาญของ Odoo ผนวกกับความเชี่ยวชาญของ Backyard จึงเชื่อมั่นว่าจะสามารถเสริมสร้างศักยภาพให้แก่ระบบ ERP ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละธุรกิจและผู้ประกอบการไทยอย่างแท้จริง ในขณะที่ยังมีราคาที่เข้าถึงได้ และการดูแลหลังการขายที่เป็นเลิศ นายจตุพล กล่าวทิ้งท้าย


สนใจนำระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) เข้ามาใช้องค์กร?

สามารถพูดคุยหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการ Modular ERP กับผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลยที่ โทร. 02-853-9131 หรือ info@backyard.in.th หรือกรอกแบบฟอร์มที่นี่ แล้วเราจะรีบติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด


สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Backyard ได้ที่

Facebook – facebook.com/backyardTH/

Linkedin – linkedin.com/company/backyardth/


]]>
<![CDATA[PRINC จับมือ Backyard ร่วมพัฒนามาตรฐานข้อมูลสุขภาพ MEDconnext FHIR Standard ยกระดับระบบสุขภาพดิจิทัล]]>https://www.backyard.in.th/post/backyard-x-prince-medconnext-fhir-standard-business-collaboration64e7f01fc34e59a72bae66a9Fri, 25 Aug 2023 03:00:04 GMTkornkanoksu

PRINC กับ Backyard ลงนามสัญญาความร่วมมือเพื่อใช้มาตรฐานข้อมูลสารสนเทศสุขภาพ MEDconnext FHIR Standard

บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล (PRINC) ผู้ดำเนินธุรกิจบริหารจัดการโรงพยาบาลเอกชนและธุรกิจสุขภาพในนามเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ ได้จับมือลงนามความร่วมมือใช้มาตรฐานข้อมูลสารสนเทศสุขภาพ MEDconnext FHIR Standard กับบริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด (Backyard) ณ อาคารบางกอกบิสซิเนสเซนเตอร์ เอกมัย นำโดยคุณดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ประธานกรรมการบริหาร และคุณจตุพล ชวพัฒนากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารจากบริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด และกลุ่มบริษัทในเครือ

ภายในงานนี้ นายแพทย์กฤตวิทย์ เลิศอุตสาหกูล กรรมการผู้จัดการ และคุณพวัสส์ ธนวุฒิศิรวัชร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านเฮลท์แคร์ จากบมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล หรือ PRINC ยังได้ให้เกียรติเข้าร่วมงานอีกด้วย


คุณดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด และกลุ่มบริษัทในเครือ กล่าวว่า การพัฒนามาตรฐานข้อมูลสุขภาพ MEDconnext FHIR Standard เป็นการผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโรงพยาบาล เพื่อให้การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยจากโรงพยาบาลต่าง ๆ รวมถึงในด้านบริหารการจัดการภายในโรงพยาบาลเป็นไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การพัฒนาในครั้งนี้จึงนับเป็นการยกระดับระบบข้อมูลสารสนเทศสุขภาพในประเทศไทย เพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงในวงการสุขภาพและการแพทย์ในปัจจุบัน และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง ทุกที่ และเท่าเทียมกัน

คุณดนัยรัฐ  ธนบดีธรรมจารี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด และกลุ่มบริษัทในเครือ ซึ่งเป็นผู้พัฒนา MEDconnext และมาตรฐานข้อมูลสุขภาพ MEDconnext FHIR Standard


ด้าน นายแพทย์กฤตวิทย์ เลิศอุตสาหกูล กรรมการผู้จัดการ บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล กล่าวเสริมว่า PRINC รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมลงนามความร่วมมือใช้มาตรฐานข้อมูลสารสนเทศสุขภาพ MEDconnext FHIR Standard การลงนามในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนามาตรฐานข้อมูลสารสนเทศสุขภาพสากล หรือ FHIR Standard และยังนับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีระบบสารสนเทศสุขภาพ เพื่อสร้าง Ecosystem FHIR Standard ในประเทศไทย ซึ่งจะนำไปสู่ความปลอดภัยของข้อมูลผู้รับบริการในทุกระดับ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชนที่เข้ารับการบริการทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขต่อไป


MEDconnext คืออะไร?

นวัตกรรม MEDconnext คือหนึ่งในระบบ Enterprise Solution สำหรับโรงพยาบาลที่พัฒนาโดยบริษัท เมดคิวรี จำกัด ภายใต้เครือแบ็คยาร์ด ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มข้อมูลที่จะเข้ามาช่วยในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสุขภาพระหว่างโรงพยาบาลและการบริหารจัดการโรงพยาบาลให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ MEDconnext จึงเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่จะมอบประสบการณ์ในการทำงานในโรงพยาบาลที่ดีที่สุดให้แก่คุณเท่าที่จะเป็นไปได้


สนใจนำ MEDconnext เข้ามาใช้ในองค์กร?

สำหรับผู้สนใจนวัตกรรม MEDconnext สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่ โทร. 02-853-9131 หรือ support@medcury.health หรือกรอกแบบฟอร์มที่นี่ แล้วเราจะรีบติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด


สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Backyard ได้ที่

Facebook – facebook.com/backyardTH/

Linkedin – linkedin.com/company/backyardth/


]]>
<![CDATA[3 วิธีปรับองค์กรพร้อมรับมือกับ Healthcare Landscape สมัยใหม่]]>https://www.backyard.in.th/post/3-ways-change-organization-for-modern-healthcare-landscape64d06965580afe8336083407Tue, 15 Aug 2023 03:18:14 GMTkornkanoksu

3 วิธีปรับองค์กรของคุณให้เป็นโรงพยาบาลที่พร้อมรับมือกับ Healthcare Landscape สมัยใหม่

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ภูมิทัศน์ด้านการดูแลสุขภาพ หรือ Healthcare Landscape มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ วันนี้ MEDcury จะพาไปดูรากฐานต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อที่เหล่าผู้ประกอบการธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพจะได้เข้าใจภาพรวมมากขึ้น นอกจากนี้เรายังมี 3 วิธีปรับตัวเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จมาแบ่งปันกันอีกด้วย มาดูกันเลยว่าจะมีอะไรกันบ้าง


3 วิธีปรับองค์กรพร้อมรับมือกับ Healthcare Landscape สมัยใหม่

1. ดูแลโดยมุ่งเน้นผู้ป่วยป็นศูนย์กลางเพื่อตอบโจทย์ความคาดหวังของผู้ป่วย

ในปัจจุบัน ผู้ป่วยมีอำนาจมากขึ้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นกว่าในอดีตมาก โดยผู้ป่วยมีการใช้อินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียเพื่อเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์และมองหาการดูแลสุขภาพที่พวกเขาสามารถควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ได้มากขึ้น ซึ่งผู้ป่วยคาดหวังประสบการณ์การดูแลที่มุ่งเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง สะดวกสบาย และเป็นส่วนตัว ดังนั้นธุรกิจการดูแลสุขภาพต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมกับผู้ป่วย

หนึ่งกลยุทธ์ที่ MEDcury แนะนำคือการจัดหาแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น Telemedicine ที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงผู้ให้บริการด้านสุขภาพได้ง่ายขึ้น และนำเสนอบริการที่เหมาะสมกับผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปเหล่านี้ให้ได้นั่นเอง


2. จัดทำกฎระเบียบและปรับเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติเพื่อตอบรับการเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมาย

กฎระเบียบด้านการดูแลสุขภาพมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมถึงรับประกันความปลอดภัยของผู้ป่วย การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบเหล่านี้ส่งผลกระทบมากมาย ตั้งแต่มาตรฐานความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย ไปจนถึงรูปแบบสินไหมค่ารักษาพยาบาล และมาตรการด้านคุณภาพ

อย่างไรก็ตามธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบเหล่านี้ โดยปรับเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกัน และจัดทำกฎระเบียบข้อบังคับที่เข้มงวดเพื่อให้บุคลากรในองค์กรปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมและเป็นไปตามกฎหมาย รวมถึงเพื่อรักษาไว้ซึ่งความไว้วางใจของผู้ป่วยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 3 กฎหมายที่โรงพยาบาลต้องปฏิบัติตามได้ที่นี่


3. ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

เทคโนโลยีได้กลายเป็นรากฐานสำคัญของการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพที่ทันสมัย ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานต่าง ๆ โดยใช้ต้นทุนที่ต่ำลง และเพิ่มความร่วมมือระหว่างบุคลากรทางการแพทย์อีกด้วย ดังนั้นการเปิดรับและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีจึงไม่ใช่แค่ทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพ


4 ตัวอย่างเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่เหล่าโรงพยาบาลไม่ควรขาด ได้แก่

  1. ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Health Information System หรือ HIS)

  2. ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพ (Health Information Exchange หรือ HIE)

  3. เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Medical Record หรือ EMR)

  4. Telemedicine


รับมือ Healthcare Landscape สมัยใหม่ด้วย 4 นวัตกรรมสุดล้ำสมัย

4 เทคโนโลยีจาก MEDcury ได้แก่ Centrix, MED-HIS, MEDconnext และหมอในบ้าน จะเป็นหนึ่งในวิธีช่วยคุณปรับองค์กรให้ตอบรับ Healthcare Landscape สมัยใหม่ในปัจจุบัน

สำหรับใครที่สนใจเทคโนโลยีเหล่านี้ ที่ MEDcury เรามีนวัตกรรม Centrix, MED-HIS, MEDconnext และหมอในบ้าน พร้อมช่วยคุณปรับเปลี่ยนธุรกิจให้พร้อมรับกับ Healthcare Landscape ที่เปลี่ยนแปลงไป


ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำอย่างมืออาชีพ สามารถพูดคุยหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลยที่ โทร. โทร. 02-853-9131 หรือ support@medcury.health หรือกรอกแบบฟอร์มที่นี่ แล้วเราจะรีบติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด


สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับพวกเรา MEDcury ได้ที่

Website – https://www.medcury.health

Facebook – facebook.com/medcury.health/

Linkedin – linkedin.com/company/medcury


]]>
<![CDATA[สถาปัตยกรรมองค์กร หรือ Enterprise Architecture (EA) คืออะไร? ทำไมต้องทำ?]]>https://www.backyard.in.th/post/what-is-enterprise-architecture-ea-floward647e986f9b085f9f228efa0dThu, 10 Aug 2023 05:42:14 GMTkornkanoksu

สถาปัตยกรรมองค์กร หรือ Enterprise Architecture (EA) คืออะไร?

พอได้ยินคำว่าสถาปัตยกรรม ทุกคนคงนึกถึงการออกแบบอาคารบ้านเรือนให้สวยงามใช่มั้ยล่ะ แต่สำหรับคำว่า “สถาปัตยกรรมองค์กร” นั้นกลับไม่ได้มีความหมายที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบให้สวยงามเลยนี่สิ แล้วจริง ๆ สถาปัตยกรรมองค์กรคืออะไรกันแน่นะ ไม่ต้องสงสัยอีกต่อไป เพราะวันนี้ Backyard จะมาเฉลยความหมายที่แท้จริง พร้อมเหตุผลว่าทำไมสิ่งนี้ถึงจำเป็นสำหรับองค์กร ตามมาดูกันเลย~


สถาปัตยกรรมองค์กร หรือ Enterprise Architecture (EA) คืออะไร

หากเราลองแยกคำศัพท์ออกเป็น 2 คำ คือ “สถาปัตยกรรม” และ “องค์กร” แล้วมาลองแจกแจงทีละคำ เราจะสามารถเข้าใจความหมายของสิ่งนี้ได้ง่ายขึ้น

  • สถาปัตยกรรม: จริง ๆ แล้ว คำนี้ไม่ได้หมายถึงเพียงการออกแบบสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดความสวยงามเท่านั้น แต่ยังเป็นการออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้สอยและสภาพแวดล้อมอีกด้วย

  • องค์กร: หน่วยงานซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มคนเพื่อดำเนินกิจกรรมบางอย่างให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

การใช้สอยขององค์กรในที่นี้ก็เลยหมายถึงการทำงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ส่วนสภาพแวดล้อมพื้นฐานขององค์กรนั้นก็ประกอบด้วย บุคลากร กระบวนการทำงาน งบประมาณ และเทคโนโลยี ซึ่งเมื่อนำมารวมกัน เราจึงสามารถอธิบายได้ง่าย ๆ ว่าสถาปัตยกรรมองค์กรคือการออกแบบผังกระบวนการทำงานขององค์กรให้สอดคล้องกับโครงสร้างพื้นฐานขององค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถบริหารจัดการและดำเนินธุรกิจให้เป็นไปอย่างราบรื่นนั่นเอง


แต่… จะทำอย่างไรให้ทุกอย่างเป็นไปราบรื่นล่ะ?


Backyard บอกเลยว่า พระเอกของงานนี้ก็คือ “ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและความปลอดภัย (IT & Security)” นั่นเอง เพราะการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ให้เข้ากับกระบวนการทำงานขององค์กรอย่างเป็นระบบ จะช่วยผลักดันให้องค์กรสามารถดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด


สถาปัตยกรรมองค์กรต้องออกแบบอะไรบ้าง?

จากที่อธิบายข้างต้น หลายคนคงเอ๊ะว่าออกแบบองค์กรที่ว่าต้องออกแบบอะไร? เรามี 5 กรอบแนวทางการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร ดังนี้

  1. ด้านธุรกิจ (Business)

  2. ด้านแอปพลิเคชั่น (Application)

  3. ด้านข้อมูล (Data)

  4. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)

  5. ด้านความมั่นคงปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Security)


การจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรจะช่วยองค์กรได้อย่างไรบ้าง?

การจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรสามารถตอบโจทย์ในการแก้ไข 2 ปัญหาหลัก ๆ ดังนี้

1. ปัญหาด้านข้อมูล

ทุกวันนี้งานหลาย ๆ อย่าง เราไม่สามารถใช้คนทำในรูปแบบ Manual ได้อีกต่อไป ดังนั้นหลาย ๆ องค์กรจึงมีการนำระบบเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้ เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน แต่ปัญหาที่ตามมาคือองค์กรมีเทคโนโลยีหลากหลายเต็มไปหมด แต่ต่างแผนก ต่างทีมมีการแยกการจัดเก็บข้อมูลที่กระจัดกระจาย เป็นเอกเทศ ส่งผลให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และไม่เชื่อมโยงถึงกัน รวมถึงอาจไม่สอดคล้องกับข้อกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับอีกด้วย

2. ปัญหาคอขวดในการทำงาน

หลายองค์กรมีการใช้เทคโนโลยีก็จริง แต่กลับไม่ทั่วถึงทั้งองค์กร จึงส่งผลให้เกิดปัญหาคอขวด (ฺBottleneck) ในกระบวนการทำงานในท้ายที่สุด

หากองค์กรต้องการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ องค์กรจำเป็นต้องมองเห็นภาพรวมขององค์กรเสียก่อน ซึ่งสถาปัตยกรรมองค์กรถือเป็นเครื่องมือที่จะช่วยแสดงความสัมพันธ์ภายในองค์กร ทั้งกระบวนการทำงาน และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ เพื่อค้นหาแนวทางในการสร้างความสอดคล้อง ซึ่งจะนำไปสู่การขับเคลื่อนกิจกรรมทางธุรกิจใด้อย่างคล่องตัว และสามารถดำเนินงานให้เสร็จสิ้นอย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายขององค์กรนั่นเอง


เป็นอย่างไรกันบ้าง พอจะคลายความสงสัยเกี่ยวกับคำว่า “สถาปัตยกรรมองค์กร” ไปได้บ้างแล้วใช่ไหมล่ะ แต่รู้แค่นี้มันออกจะเบาบางไปสักหน่อยน่ะสิ~ เพราะฉะนั้นคราวหน้า Backyard จะมาเจาะลึกกระบวนการทำสถาปัตยกรรมองค์กรให้ทุกคนได้รู้กันชัด ๆ ไปเลย ดังนั้นฝากติดตามกันต่อด้วยนะ!


และสำหรับใครที่สนใจการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร พวกเรา Backyard และเครื่องมือ FLOWARD พร้อมช่วยคุณให้จัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ ง่าย และสะดวก

FLOWARD เป็น Enterprise Intelligence Platform หรือเครื่องมือช่วยบริหารองค์กรเพื่อพัฒนาสู่ความยั่งยืน จากบริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด (Backyard)

สามารถพูดคุยหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลยที่ โทร. 02-853-9131 หรือ info@backyard.in.th หรือกรอกแบบฟอร์มที่นี่ แล้วเราจะรีบติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด


สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Backyard ได้ที่

Facebook – facebook.com/backyardTH/

Linkedin – linkedin.com/company/backyardth/

]]>
<![CDATA[3 กฎหมายด้านข้อมูลที่โรงพยาบาลต้องปฏิบัติตาม]]>https://www.backyard.in.th/post/3-laws-for-hospital-hipaa-gdpr-pdpa64d06ea7fea8e92854b9d1c4Mon, 07 Aug 2023 05:00:27 GMTkornkanoksu

ทุกวันนี้ผู้คนหันมาตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวและความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้น รวมถึงมีการออกกฎหมายใหม่ ๆ เพื่อปกป้องการเข้าถึงหรือเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้แล้ว โดยมี 3 กฎหมายด้านข้อมูลที่ส่งผลโดยตรงแก่โรงพยาบาล ไม่ว่าโรงพยาบาลของคุณจะยังทำงานแบบดั้งเดิมที่เก็บข้อมูลทุกอย่างในรูปแบบแฟ้มเอกสาร หรือโรงพยาบาลมีระบบการทำงานเป็นดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบด้วยการใช้ Digital Tools ต่าง ๆ แล้วก็ตาม เพียงแค่องค์กรของคุณมีการเก็บข้อมูลส่วนตัว คุณก็เข้าเกณฑ์ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเหล่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วันนี้ MEDcury จะมาสรุปให้ทุกคนฟังถึง 3 กฎหมายนี้กัน มาดูกันเลย!


3 กฎหมายด้านข้อมูลที่โรงพยาบาลต้องปฏิบัติตาม

1. Health Insurance Portability and Accountability Act (HIPAA)

ย้อนกลับไปเมื่อปีค.ศ. 1996 ทางรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดให้มีการสร้างมาตรฐานระดับชาติเพื่อปกป้องข้อมูลด้านสุขภาพที่ละเอียดอ่อนของผู้ป่วย ไม่ให้ถูกเปิดเผยโดยไม่ได้รับความยินยอม นั่นก็คือกฏหมาย Health Insurance Portability and Accountability Act หรือ HIPAA นั่นเอง การบังคับใช้กฎหมายนี้ ทำให้ข้อมูลด้านสุขภาพใด ๆ ก็ตามที่อาจเชื่อมโยงถึงการระบุตัวผู้ป่วย จะถูกปกป้อง และไม่สามารถนำมาเปิดเผยหรือเข้าถึงได้ หากไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย ดังนั้นผู้ให้บริการด้านสุขภาพและบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามกฎหมายนี้อย่างเคร่งครัดเพื่อคุ้มครองข้อมูลของผู้ป่วยให้ปลอดภัยจากการเผยแพร่หรือเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต


ข้อมูลที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของ HIPAA มีดังนี้

ข้อมูลใด ๆ ก็ตามที่แพทย์ หรือพยาบาล หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพต่าง ๆ ได้บันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย

บทสนทนาเกี่ยวกับการรักษาระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ หรือพยาบาล หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพ

ข้อมูลเกี่ยวกับประกันสุขภาพของผู้ป่วย

ข้อมูลค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วย

ข้อมูลด้านสุขภาพอื่น ๆ ของผู้ป่วยที่ถูกเก็บรวบรวมโดยผู้ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายนี้


2. General Data Protection Regulation (GDPR)

General Data Protection Regulation หรือ GDPR คือกฎระเบียบของสหภาพยุโรป (EU) ว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวและความเป็นส่วนตัวของพลเมืองในประเทศใน EU ซึ่งมีการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่ละเอียดอ่อนต่าง ๆ มากมาย เพื่อปกป้องพลเมือง EU จากการโดนละเมิดความเป็นส่วนตัว


ข้อมูลที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของ GDPR ได้แก่

ข้อมูลทั่วไป เช่น ชื่อ-นามสกุล, เลขประจำตัวประชาชน, เบอร์โทรศัพท์, วันเกิด, อีเมล เป็นต้น

รูปลักษณ์ ลักษณะ และพฤติกรรม

ข้อมูลด้านการศึกษา

ข้อมูลด้านการทำงาน รายได้ และการเสียภาษี

ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data) เช่น การนับถือศาสนา, ความคิดเห็นทางการเมือง เป็นต้น

ข้อมูลด้านสุขภาพ เช่น ประวัติการรักษาพยาบาล, ลักษณะทางพันธุกรรม เป็นต้น


กฎหมาย GDPR ประกาศใช้ใน EU แล้วเกี่ยวอะไรกับโรงพยาบาลในประเทศไทย?

หลาย ๆ คนคงสงสัยในประเด็นนี้กันอย่างแน่นอน MEDcury ขอพูดสรุปง่าย ๆ เลยว่าถึงแม้กฎหมาย GDPR จะประกาศใช้ใน EU แต่มีผลบังคับใช้กับทุกหน่วยงานที่มีการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองที่อาศัยอยู่ใน EU ไม่ว่าหน่วยงานนั้นจะตั้งอยู่ที่ไหนก็ตาม ดังนั้นโรงพยาบาลที่ต้องข้องเกี่ยวกับชาวต่างชาติจากประเทศในกลุ่ม EU ก็เลยต้องปฏิบัติตามกฎนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกันนั่นเอง


3. Thailand’s Personal Data Protection Act (PDPA)

Thailand’s Personal Data Protection Act หรือ PDPA คือพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งพึ่งประกาศบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา จริง ๆ แล้วกฎหมายนี้ถูกถอดแบบมาจากกฎระเบียบ GDPR ที่พึ่งกล่าวไปข้างต้น ดังนั้นวัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้จึงไม่ต่างกัน นั่นก็เพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงป้องกันการจัดเก็บข้อมูลและนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบและไม่ได้รับความยินยอม


ตัวอย่างของข้อมูลที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของ PDPA เช่น

ข้อมูลทั่วไป เช่น ชื่อ-นามสกุล, เลขประจำตัวประชาชน, เลขหนังสือเดินทาง, ที่อยู่, อีเมล, เบอร์โทรศัพท์, วันเกิด, สถานที่เกิด, เชื้อชาติ, สัญชาติ, น้ำหนัก, ส่วนสูง เป็นต้น

ข้อมูลอุปกรณ์หรือเครื่องมือ เช่น IP address, Cookie ID เป็นต้น

ข้อมูลทางชีวมิติ (Biometric) เช่น รูปถ่ายใบหน้า, ลายนิ้วมือ, ข้อมูลสแกนม่านตา, ข้อมูลอัตลักษณ์เสียง

ข้อมูลทรัพย์สินของบุคคล เช่น ทะเบียนรถยนต์, โฉนดที่ดิน เป็นต้น

ข้อมูลทางการเงิน

ข้อมูลการศึกษาหรือการจ้างงาน

ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data) เช่น ความคิดเห็นทางการเมือง, ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา, พฤติกรรมทางเพศ, ประวัติอาชญากรรม, ข้อมูลด้านสุขภาพ ความพิการ หรือข้อมูลสุขภาพจิต, ข้อมูลพันธุกรรม เป็นต้น


เก็บข้อมูลแบบดั้งเดิม ทำไมยังต้องปฏิบัติตาม?

ต้องบอกว่ากฎหมายทั้งสามนี้ก็มีผลบังคับใช้กับทุกองค์กรอย่างไม่เลือกปฏิบัติ และไม่ขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บข้อมูล ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ ที่มีการเก็บข้อมูลส่วนตัวจึงต้องปรับตัวให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่เป็นหนึ่งในองค์กรที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนตัวที่ละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data) เป็นจำนวนมาก

หรืออธิบายอีกวิธีหนึ่งได้ว่าไม่ว่าโรงพยาบาลของคุณจะยังทำงานแบบดั้งเดิมที่เก็บข้อมูลทุกอย่างเป็นแฟ้มเอกสารหรืออยู่เฉพาะบน Server ของโรงพยาบาล หรือโรงพยาบาลได้เปลี่ยนระบบการทำงานเป็นดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบด้วยการใช้ Digital Tools ต่าง ๆ เช่น EMR, HIS On Cloud, HIE, NHIS เป็นต้น แล้วก็ตาม ในเมื่อคุณมีการเก็บข้อมูล คุณก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเหล่านี้นั่นเอง


ใช้ Digital Tools ในโรงพยาบาล จะเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดหรือเปล่า?

บางโรงพยาบาลที่ใช้ Digital Tools จากภายนอกองค์กรอาจเกิดคำถามและมีความกังวลใจว่า “การใช้ Digital Tools ต่าง ๆ นั้นเป็นไปตามกฎหมายเหล่านี้หรือไม่” ต้องขอบอกเลยว่านักพัฒนาระบบและผู้ให้บริการเหล่านี้นั้นมีความเชี่ยวชาญและปฏิบัติตามกฏหมายเหล่านี้อย่างเคร่งครัดมากยิ่งขึ้น ดังนั้นคุณจึงสามารถไว้ใจใน Digital Tools ได้อย่างแน่นอน

ส่วนโรงพยาบาลที่ยังทำงานแบบดั้งเดิมอยู่นั้น แม้คุณจะไม่เกี่ยวข้องกับ Digital Tools แต่อย่างที่เราได้กล่าวไว้ข้างต้น กฎหมายทั้งสามนี้ไม่เลือกปฏิบัติ มันเกี่ยวข้องกับคุณโดยตรงอย่างแน่นอน ดังนั้นการมีความรู้และความเข้าใจในกฎหมายเหล่านี้ย่อมดีกว่า เพื่อที่คุณจะได้สามารถปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมและเป็นไปตามกฎหมาย


เป็นอย่างไรกันบ้าง ทุกคนคงพอจะเข้าใจมากขึ้นใช่ไหมว่าโรงพยาบาลมีการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ มากมายที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของ 3 กฎหมายนี้ ดังนั้นโรงพยาบาลจึงต้องมีมาตรการจัดเก็บและปกป้องข้อมูลที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น เพราะหากเกิดความเสียหายจากการเก็บรวบรวม หรือการใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายทั้ง 3 นี้แล้ว อาจเกิดปัญหาด้านกฏหมายครั้งใหญ่ตามมาได้ นอกจากนี้การปฏิบัติตามกฎหมายเหล่านี้อย่างเคร่งครัดยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อโรงพยาบาลให้กับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดีอีกด้วย


สำหรับใครที่อยากพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพ สามารถพูดคุยกับพวกเรา MEDcury ได้ที่ 02-853-9131 หรือ support@medcury.health หรือกรอกแบบฟอร์มที่นี่ แล้วเราจะรีบติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด


สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับพวกเรา MEDcury ได้ที่

Website – https://www.medcury.health

Facebook – facebook.com/medcury.health/

Linkedin – linkedin.com/company/medcury


อ้างอิงข้อมูลจาก

]]>
<![CDATA[MEDcury x Softdebut ลงนามสัญญาตัวแทนจำหน่าย MED-HIS มุ่งยกระดับ Healthcare Technology ในประเทศไทย]]>https://www.backyard.in.th/post/medcury-x-softdebut64a784a9c089970f097e9e4fTue, 11 Jul 2023 04:07:00 GMTkornkanoksu

บริษัท เมดคิวรี จำกัด จับมือลงนามความร่วมมือ Business Collaboration Agreement กับบริษัท ซอฟท์เดบู จำกัด ผู้นำเข้าและพัฒนาซอฟต์แวร์ชั้นนำระดับโลก และผู้จัดจำหน่ายซอฟต์แวร์ชั้นนำของประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายสิทธิการใช้ซอฟแวร์ระบบบริหารจัดการข้อมูลสำหรับธุรกิจโรงพยาบาล (HIS) ภายใต้ระบบ “MED-HIS” อย่างเป็นทางการ พร้อมพัฒนาแนวทางเพื่อยกระดับ Healthcare Technology ในประเทศไทย และสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงทางการแพทย์ให้แก่ประชาชนในวงกว้าง


คุณจตุพล ชวพัฒนากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมดคิวรี จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับ บริษัท ซอฟท์เดบู จำกัด เพราะเป็นผู้นำทางด้านการนำเข้าซอฟต์แวร์และพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับโลก ซอฟต์เดบูถือเป็นพาร์ทเนอร์ที่เมดคิวรีได้พยายามค้นหามาอย่างยาวนานและคัดสรรมาอย่างดี ด้วยทีมที่มีความสามารถของซอฟต์เดบู ตนจึงมีความมั่นใจในการมอบสิทธิ์ให้ดูแลและบริการซอฟต์แวร์ “MED-HIS” เพื่อขยายขอบเขตการใช้ซอฟต์แวร์นี้ไปทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมถึงพัฒนาศักยภาพการให้บริการทางด้านสาธารณสุขทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น

MED-HIS จาก MEDcury เป็นระบบที่ครอบคลุมทั้งระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System : HIS) และระบบอื่น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยน เชื่อมต่อ และวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพ ในขณะนี้เป็นระบบที่ Softdebut ถือเป็นผู้จัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการ


คุณพีรวีท์ จรัสสิริกุลชัย ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซอฟท์เดบู จำกัด เผยว่า บริษัทฯ มีความมั่นใจในความร่วมมือทางธุรกิจร่วมกับทาง บริษัท เมดคิวรี จำกัด ในครั้งนี้ โดยซอฟต์แวร์ “MED-HIS” นั้นได้ผ่านการคัดเลือกและคัดสรรมาแล้วว่าเป็นซอฟต์แวร์ที่ดี มีคุณภาพ และตอบโจทย์ธุรกิจ ตรงตามจุดมุ่งหมายของบริษัทฯ ที่ต้องการให้ลูกค้าได้ใช้ซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมนำพาธุรกิจมุ่งสู่ความสำเร็จ นอกจากนี้ซอฟต์เดบูยังมีอีกหนึ่งเป้าหมายคือเพื่อผลักดันและพัฒนาซอฟต์แวร์ของคนไทย และชี้ให้เห็นว่าซอฟต์แวร์ของคนไทยนั้นมีความสามารถและประสิทธิภาพไม่แพ้ชาติใดในโลก

MEDcury กับ Softdebut ลงนามสัญญาความร่วมมือ


MED-HIS คืออะไร?

MED-HiS คือหนึ่งในระบบ Enterprise Solution สำหรับโรงพยาบาลที่พัฒนาโดยบริษัท เมดคิวรี จำกัด โดยผสมผสานครอบคลุมทั้งระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System : HIS) และระบบอื่น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยน เชื่อมต่อ และวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพ

MED-HIS คือหนึ่งในระบบ Enterprise Solution สำหรับโรงพยาบาลที่พัฒนาโดยบริษัท เมดคิวรี จำกัด โดยผสมผสานครอบคลุมทั้งระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System : HIS) และระบบอื่น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยน เชื่อมต่อ และวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพ อาทิ ระบบ MEDconnext เพื่อการบริหารจัดการข้อมูลพร้อมคอนเนคเตอร์รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากหลากหลายช่องทาง และ หมอในบ้าน ระบบการแพทย์ทางไกลแบบใหม่ (Telemedicine) เพื่อเชื่อมต่อระหว่างโรงพยาบาลกับคนไข้ทั่วประเทศแบบ Real-Time เพื่อช่วยบริหารการจัดการภายในโรงพยาบาล รองรับความยืดหยุ่นและการทำงานผ่านออนไลน์ในยุคดิจิทัลนี้ พร้อมปรับเปลี่ยนองค์กรของคุณให้กลายเป็นโรงพยาบาลไร้กระดาษ (Paperless Hospital) ควบคู่กับการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ในปัจจุบัน ระบบ MED-HIS ถูกติดตั้งในโรงพยาบาลมากกว่า 25 แห่งทั่วประเทศไทย โดยมีผู้ป่วยใช้ระบบมากกว่า 3,500,000 คน พวกเรา MEDcury มั่นใจว่านวัตกรรมนี้สามารถตอบโจทย์การทำงานของโรงพยาบาลอย่างสูงสุด โดยพร้อมช่วยคุณยกระดับคุณภาพการให้บริการให้ดียิ่งขึ้น และยังช่วยสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงทางการแพทย์ให้แก่ประชาชนอีกด้วย


สนใจนำ MED-HIS เข้ามาใช้ในองค์กร?

คุณสามารถพูดคุยหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MED-HIS กับ Softdebut ได้ที่ โทร. 02-861-4600 หรือ sales@softdebut.com หรือ https://www.softdebut.com


และสามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับพวกเรา MEDcury ได้ที่

Website – https://www.medcury.health

Facebook – facebook.com/medcury.health/

Linkedin – linkedin.com/company/medcury

]]>
<![CDATA[4 เทคโนโลยีช่วยลดกระดาษในโรงพยาบาลตอบสนองนโยบายมุ่งเน้น 2566]]>https://www.backyard.in.th/post/4-technology-for-being-paperless-hospital-focus-policy-2023646c3ed5b74c16be73e5405dTue, 23 May 2023 04:41:02 GMTkornkanoksu

4 เทคโนโลยีที่จะช่วยคุณลดปริมาณการใช้กระดาษในโรงพยาบาลเพื่อกลายเป็นโรงพยาบาลไร้กระดาษ (Paperless) ตอบสนองนโยบายมุ่งเน้น 2566 ของกระทรวงสาธารณสุข

ด้วยนโยบายมุ่งเน้นประจำปี 2566 ของกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องการพัฒนาข้อมูลและเทคโนโลยีสุขภาพเพื่อประชาชน โดยการพัฒนาทุกโรงพยาบาลให้กลายเป็น Smart Hospital ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจทัลเข้ามาช่วย เป้าหมายของนโยบายนี้คือโรงพยาบาลจะต้องลดจำนวนการใช้กระดาษ หรือ Paperless ให้ได้ แล้วโรงพยาบาลจะทำอย่างไรได้บ้าง? วันนี้ MEDcury ขอพาทุกคนไปดู 4 เทคโนโลยีที่จะช่วยให้ทุกโรงพยาบาลสามารถเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็น Paperless Hospital ตามนโยบายของรัฐได้


1. Health Information System หรือ HIS

ระบบ HIS เป็นระบบจัดการและจัดเก็บข้อมูลแบบครบวงจรบนระบบดิจิทัล เทคโนโลยีนี้จึงถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยเสริมเป้าหมายการเป็น Paperless Hospital เพราะไม่ว่าจะเป็นข้อมูลพื้นฐานผู้ป่วย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือแม้แต่ใบสั่งยา เพียงแค่โรงพยาบาลใช้ระบบ HIS ทุกอย่างที่เคยอยู่ในรูปแบบกระดาษก็จะกลายเป็นเอกสารออนไลน์นั่นเอง

ทั้งนี้ MEDcury ขอแนะนำให้คุณเลือกใช้หรืออัปเกรดระบบ HIS ให้สามารถรองรับกับขั้นตอนการทำงาน (Workflow) และนวัตกรรมต่าง ๆ ในปัจจุบัน รวมถึงต้องเชื่อมต่อเป็นระบบเดียวกัน (Single Source of Truth) ด้วย มิฉะนั้นนี่อาจกลายเป็นปัญหาที่ทำให้คุณอาจยังต้องพึ่งพาระบบเอกสารกระดาษอยู่เช่นเดิม


2. Health Information Exchange หรือ HIE

ทุกคนคงรู้กันว่ากระบวนการย้ายโรงพยาบาลนั้นจำเป็นต้องขอข้อมูลประวัติการรักษาจากโรงพยาบาลเดิมซะก่อน ซึ่งนี่ถือเป็นขั้นตอนที่ทั้งผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลต้องยุ่งเกี่ยวหรือใช้เอกสารกระดาษจำนวนมากเลยแหละ แต่ระบบ HIE นี้ถือเป็นสุดยอดเทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน (Workflow) นี้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยลดกระดาษได้เป็นอย่างดี ด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลผ่านระบบดิจิทัลแทน ทำให้ผู้ให้บริการด้านสุขภาพสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างไร้รอยต่อได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องใช้กระดาษอีกต่อไป


3. Electronic Medical Record หรือ EMR

ทุกคนคงเคยถือหรือเห็นแฟ้มเวชระเบียนกระดาษหนาเป็นปึก ๆ ใช่ไหมล่ะ? พอผู้ป่วยตรวจนั่นทีนี่ที ก็ได้กระดาษเพิ่มมาอีกแล้ว แล้วคิดดูสิว่าโรงพยาบาลต้องใช้กระดาษเป็นจำนวนมากแค่ไหนสำหรับเวชระเบียนของผู้ป่วยทุกคน…

การใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Medical Record (EMR) จึงถือเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งสำหรับปัญหานี้ เพียงแค่โรงพยาบาลเริ่มเปลี่ยนจากการบันทึกข้อมูลทางการแพทย์ต่าง ๆ ในกระดาษมาไว้บนระบบคอมพิวเตอร์แทน เมื่อต้องการใช้ ก็สามารถเรียกดูข้อมูลผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ แท็ปเลต เป็นต้น เพียงเท่านี้โรงพยาบาลก็จะสามารถประหยัดการใช้กระดาษได้เป็นกอง ๆ แถมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูลอีกด้วย บอกเลยว่าต่อไปก็ไม่ต้องกลัวว่าเวชระเบียนจะสูญหายหรือเสียหายตามกาลเวลา และเจ้าหน้าที่ยังไม่ต้องเสียเวลาค้นหาให้ยากอีกด้วย


4. Telemedicine

การไปโรงพยาบาลแต่ละครั้งมีการใช้กระดาษเป็นจำนวนมากจนน่าตกใจ ทั้งแบบฟอร์มที่ต้องให้ผู้ป่วยกรอก ทั้งเอกสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วย รวมถึงผลตรวจต่าง ๆ อีก ดังนั้นการนำ Telemedicine เข้ามาใช้จึงตอบโจทย์ธุรกิจโรงพยาบาลในการลดกระดาษได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะช่วยให้ทั้งผู้ป่วยสามารถแชร์ข้อมูลให้เรา รวมถึงฝั่งโรงพยาบาลเองก็สามารถแบ่งปันข้อมูลทางออนไลน์ได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องใช้กระดาษนั่นเอง

Telemedicine ยังมีประโยชน์อีกมากมายหลายด้าน โดยเฉพาะในเรื่องการเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาล และช่วยในการจัดการนัดหมายผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น และอื่น ๆ อีกมากมาย


เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับเทคโนโลยีดิจิทัลเหล่านี้ บอกเลยว่าโรงพยาบาลควรพิจารณานำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาใช้ นอกจากจะประหยัดทรัพยากรกระดาษ และสามารถดำเนินการทำงานเพื่อตอบโจทย์นโยบายจากภาครัฐได้แล้วนั้น การเป็น Smart Hospital ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยียังสามารถช่วยให้คุณประหยัดทรัพยากรอื่น ๆ ได้อีกเพียบ รวมถึงเป็นการเพิ่มขีดจำกัดของประสิทธิภาพการทำงานให้สูงสุดอีกด้วย

4 เทคโนโลยีจาก MEDcury ได้แก่ Centrix, MED-HIS, MEDconnext และหมอในบ้าน พร้อมช่วยคุณขับเคลื่อนวงการสาธารณสุขไทยให้ดีขึ้นในแง่ของการลดปริมาณการใช้กระดาษในโรงพยาบาลเพื่อกลายเป็นโรงพยาบาลไร้กระดาษ (Paperless) ตอบสนองนโยบายมุ่งเน้น 2566 ของกระทรวงสาธารณสุข

สำหรับใครที่สนใจเทคโนโลยีเหล่านี้ ที่ MEDcury เรามีนวัตกรรม Centrix, MED-HIS, MEDconnext และหมอในบ้าน พร้อมช่วยคุณเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและเปลี่ยนโรงพยาบาลให้กลายเป็น Paperless Hospital ได้อย่างแท้จริง


ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำอย่างมืออาชีพ สามารถพูดคุยหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลยที่ โทร. 02-853-9131 หรือ support@medcury.health หรือกรอกแบบฟอร์มที่นี่ แล้วเราจะรีบติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด


สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับพวกเรา MEDcury ได้ที่

Website – https://www.medcury.health

Facebook – facebook.com/medcury.health/

Linkedin – linkedin.com/company/medcury


]]>
<![CDATA[6 ความท้าทายในการเปลี่ยนแปลงองค์กรให้เป็น Agile Organization]]>https://www.backyard.in.th/post/6-challenges-in-creating-an-agile-organization645a79fa8adedd97c8b65b55Tue, 16 May 2023 04:57:53 GMTkornkanoksu

6 ความท้าทายในการเปลี่ยนแปลงองค์กรให้เป็น Agile Organization

แม้ว่าการเปลี่ยนองค์กรให้กลายเป็น Agile Organization จะฟังดูเหมือนง่าย แต่จริง ๆ ภารกิจนี้เต็มไปด้วยความท้าทายมากมาย วันนี้ Backyard จะพาไปดู 6 ความท้าทายที่คุณอาจเจอระหว่างกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ ตามมาดูกันเลย!


6 ความท้าทายในการเปลี่ยนแปลงองค์กรให้เป็น Agile Organization

1. บุคลากรมีความรู้และทักษะไม่เพียงพอ

การทำงานแบบ Agile เป็นการเน้นการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ในการทำงาน เพื่อเปลี่ยนการทำงานให้เป็นแบบดิจิทัล การที่บุคลากรขาดความรู้และทักษะเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ อาจกลายเป็นอุปสรรคในการเปลี่ยนองค์กรให้เป็น Agile Organization เพราะฉะนั้นองค์กรควรมีการฝึกอบรมพนักงานเพิ่มเติมในส่วนนี้เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น


2. ความกลัวในการเปลี่ยนแปลง

หลาย ๆ ครั้งความเคยชินกับวิธีปฏิบัติงานก็กลายเป็นอุปสรรค พนักงานหลายคนที่คุ้นชินกับการทำงานรูปแบบนั้น ๆ แล้ว มักไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นองค์กรควรมีการพูดคุยกับบุคลากรเพื่อสร้างความเข้าใจและเป้าหมายร่วมกัน โดยแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นว่าทำไมจึงควรเปลี่ยน เช่น สภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่องค์กรกำลังเผชิญอยู่ เป็นต้น นอกจากนี้ควรมีการสอบถามถึงมุมมองของพนักงาน รวมถึงเปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการต่อต้านในการเปลี่ยนแปลงด้วย


3. ขาดการสื่อสารภายในองค์กร

วิธีการทำงานที่ดีคือทุกคนในองค์กรควรส่งต่อข้อมูล ข่าวสาร และประสานงานต่าง ๆ เพื่อช่วยกันทำงานของฝ่ายและองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย การสื่อสารจึงถือเป็นหัวใจของภารกิจนี้ แต่หากคนในองค์กรไม่มีการสื่อสารกัน สุดท้ายสิ่งนี้จะทำให้องค์กรกลายเป็น Siloed Organization ที่มีการทำงานแบบแยกส่วน หรือ Silo ที่ต่างคนต่างทำงานของตนเองแบบตัวใครตัวมัน โดยไม่สนใจการทำงานของคนหรือฝ่ายอื่น ๆ ซึ่งส่งผลให้เกิดการทำงานที่ซ้ำซ้อน และอาจทำให้ประสิทธิภาพของผลงานลดลงอีกด้วย

สำหรับความท้าทายนี้ อย่างแรกที่องค์กรสามารถเริ่มต้นทำได้ง่าย ๆ เลยก็คือเริ่มสื่อสารกัน โดยนำเครื่องมือสื่อสารภายในองค์กรต่าง ๆ เข้ามาช่วย พร้อมทั้งออกแบบโครงสร้างองค์กรและกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ เพื่อให้บุคลากรภายในองค์กรรู้หน้าที่และงานของตนเอง รวมถึงมองเห็นภาพรวมการทำงานขององค์กรชัดเจนมากยิ่งขึ้น


4. การเปลี่ยนแปลงที่เร่งด่วน

หลายองค์กรมีการตัดสินใจให้มีการเปลี่ยนแปลงที่กระทันหันเกินไป สิ่งนี้อาจทำให้พนักงานไม่เข้าใจถึงเหตุผลที่องค์กรต้องมีการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ และทำให้พวกเขาไม่สามารถปรับตัวได้ทันท่วงที ซึ่งอาจนำไปสู่การต่อต้านในการเปลี่ยนแปลงในท้ายที่สุด ดังนั้นองค์กรจึงควรเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็น เพื่อรู้และเข้าใจถึงเหตุผล และเป้าหมายในระยะยาว รวมถึงองค์กรควรต้องแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของกระบวนการนี้ แล้วค่อย ๆ พยายามสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป


5. แผนงานที่ไม่ชัดเจน

มีคำกล่าวว่า “หากองค์กรมีการวางแผนที่ดีก็เท่ากับปฏิบัติงานสำเร็จไปแล้วกว่าครึ่ง” ในขณะเดียวกันแผนงานที่ไม่ชัดเจนก็จะทำให้การทำงานเป็นไปอย่างล่าช้าเช่นกัน เพราะต่างคนต่างไม่รู้ว่าอะไรคือแนวทางสู่ผลสำเร็จที่คาดหวังกันแน่ ดังนั้นองค์กรจึงควรมีการกำหนดขอบเขตในการทำงานที่ครอบคลุม รวมถึงมีนโยบายและเป้าหมายต่าง ๆ ที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม


6. ใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม

บางองค์กรมีเทคโนโลยีมากมาย แต่เทคโนโลยีเหล่านั้นกลับไม่สามารถสนับสนุนการทำงานให้มีประสิทธิภาพได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นองค์กรจึงควรค้นหาเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์กับความต้องการและงานที่มี เพื่อช่วยในการวางแผนการทำงาน การจัดลำดับความสำคัญของงานในแต่ละช่วง ทั้งแผนงานระยะสั้นและยาว และทำให้งานสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด


เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับความท้าทายเหล่านี้ ยังไงทุกคนสามารถลองนำแนวทางเหล่านี้ไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณดูได้นะ แล้วอย่าลืมว่าไม่ว่าจะความท้าทายแบบไหน พวกเรา Backyard ก็พร้อมช่วยให้คุณปรับเปลี่ยนองค์กรให้เป็น Agile Organization ได้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ด้วยเครื่องมือ FLOWARD ของเราจะช่วยให้กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น

FLOWARD เครื่องมือช่วยในการเปลี่ยนองค์กรให้เป็น Agile Organization จากบริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด (Backyard)

สามารถพูดคุยหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลยที่ โทร. 02-853-9131 หรือ info@backyard.in.th หรือกรอกแบบฟอร์มที่นี่ แล้วเราจะรีบติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด


สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Backyard ได้ที่

Facebook – facebook.com/backyardTH/

Linkedin – linkedin.com/company/backyardth/


]]>
<![CDATA[5 Steps เปลี่ยนองค์กรให้เป็น Agile Organization]]>https://www.backyard.in.th/post/5-steps-to-create-an-agile-organization6455cf6f8ee5c5436c645c3aMon, 08 May 2023 02:31:53 GMTkornkanoksu

5 Steps เปลี่ยนองค์กรให้เป็น Agile Organization

จากบทความ “Agile คืออะไร? ทำไมองค์กรจึงควรเปลี่ยนตัวเองให้เป็น Agile Organization?” เราได้รู้จัก Agile กันมากขึ้นแล้ว หลาย ๆ คนคงสงสัยต่อว่าแล้วเราจะสามารถเปลี่ยนองค์กรของเราให้เป็น Agile Organization ได้อย่างไรล่ะ? วันนี้ Backyard เราขอมาไกด์ทุกคนแบบ Step by step กันไปเลย~


5 Steps เปลี่ยนองค์กรให้เป็น Agile Organization

1. Analyze: วิเคราะห์สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ขององค์กร

การวิเคราะห์นี้จะช่วยให้คุณเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในด้านผลประโยชน์และผลกระทบต่าง ๆ จากทั้งปัจจัยภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งจะทำให้คุณเข้าใจมากขึ้นว่าแต่ละปัจจัยนั้นมีอิทธิพลต่อกระบวนการทำงานขององค์กรอย่างไร หรือส่งผลต่อเนื่องถึงกันและกันอย่างไรบ้าง


2. Scope: กำหนดขอบเขตของงาน

กำหนดขอบเขตของงานในแต่ละด้านให้ครบถ้วนและชัดเจน เพื่อตีกรอบและสร้างความเข้าใจที่ตรงกันให้แก่คนในองค์กรว่าโครงสร้างขององค์กรเป็นอย่างไร และมีการแบ่งงานอย่างไรบ้าง เพื่อให้แต่ละฝ่ายสามารถทำงานของตนเอง และประสานงานระหว่างกันได้อย่างเป็นระบบระเบียบ รวมถึงใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มี เช่น ข้อมูล เทคโนโลยี เป็นต้น ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จนสามารถทำงานต่าง ๆ ให้เสร็จสมบูรณ์ครบถ้วนในทุกแง่ทุกมุมตามที่ได้กำหนดไว้

สำหรับขั้นตอนนี้ Backyard ขอแนะนำว่าองค์กรควรมีการจัดทำพิมพ์เขียวองค์กร (Blueprint) ขึ้นมา เพราะสิ่งนี้จะช่วยให้ทุกอย่างง่ายขึ้นและเป็นรูปธรรมที่เห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นนั่นเอง


3. Design: ออกแบบโครงสร้างและกระบวนงานที่สอดคล้องกันทั้งองค์กร

เมื่อองค์กรรู้และเข้าใจภาพรวมทั้งหมดขององค์กร เราจะรับรู้ถึงปัญหาที่องค์กรมี รวมถึงความต้องการที่แท้จริงขององค์กรด้วย หลังจากนั้นเราจึงจะมาออกแบบโครงสร้างและกระบวนงานที่ตอบโจทย์กับการแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการนั้น ๆ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับองค์กรมากที่สุด โดยโครงสร้างและกระบวนการนี้จำเป็นต้องสอดคล้องกันทั้งองค์กรและเป็นระบบ อีกทั้งยังต้องช่วยลดงานที่ซ้ำซ้อนด้วย สิ่งนี้จะช่วยให้องค์กรได้ทำงานแบบ Agile อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยไม่ต้องเสียเวลาไปกับงานซ้ำซ้อนอีกต่อไป


4. Prioritize & Map: ลำดับความสำคัญของงาน และจัดทำแผนที่นำทาง (Strategic Roadmap)

Strategic Roadmap หรือแผนการดำเนินงานนั้นเปรียบเสมือน Milestone ที่จะช่วยย้ำเตือนว่าองค์กรจะต้องเดินไปสู่เป้าหมายที่วางไว้อย่างไร นอกจากนี้ยังมีประโยชน์สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละฝ่ายเพื่อนำไปเป็นแนวทาง หรือริเริ่มต่อยอดในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของฝ่ายตนเองต่อไป โดยยังคงยึดมั่นในทิศทางเดียวกันนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม แม้เราจะจำกัดวงขอบเขตการทำงานเอาไว้แล้ว แต่ไม่ใช่ว่าทุกงานจะสำคัญเท่ากันหมด ดังนั้นเราจึงควรลำดับความสำคัญของแต่ละงาน รวมถึงระบุกำหนดการณ์ส่งมอบงาน สิ่งนี้จะทำให้เราได้ใช้เวลากับงานที่มีความสำคัญมากกว่ามากยิ่งขึ้น และสามารถจัดสรรตารางการทำงานได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังอาจช่วยให้เราค้นพบวิธีการต่าง ๆ เพื่อลดจำนวนขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็นออกไป รวมถึงตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้นว่าทางเลือกไหนที่เหมาะสมมากที่สุด ซึ่งจะนำมาสู่การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการทำงานของคนในองค์กร รวมถึงผลงานนั้น ๆ ในท้ายที่สุด


5. Review & Reorganize: ทบทวนและจัดระเบียบองค์กรอีกครั้ง

แม้จะมี Blueprint หรือ Strategic Roadmap แล้ว แต่สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ขององค์กรนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น Backyard ขอแนะนำให้ทุกองค์กรกลับมาทบทวนทั้ง 4 Steps ข้างต้นใหม่อีกครั้งเป็นระยะ ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับองค์กรในขณะนั้นมากที่สุด โดยความถี่ที่เหมาะสมนั้นไม่มีตายตัว ขึ้นอยู่กับความสำคัญงานนั้น ๆ นั่นเอง


เป็นอย่างไรกันบ้าง ไม่ยากอย่างที่คิดใช่ไหมล่ะ? Backyard ขอแอบบอกว่าทั้ง 5 ขั้นตอนนี้ คุณสามารถทำให้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้นไปอีกด้วยเครื่องมือ FLOWARD ของพวกเรา

FLOWARD เครื่องมือช่วยในการเปลี่ยนองค์กรให้เป็น Agile Organization จากบริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด (Backyard)

ที่ Backyard เรามีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำแนะนำอย่างมืออาชีพ สามารถพูดคุยหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลยที่ โทร. 02-853-9131 หรือ info@backyard.in.th หรือกรอกแบบฟอร์มที่นี่ แล้วเราจะรีบติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด


สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Backyard ได้ที่

Facebook – facebook.com/backyardTH/

Linkedin – linkedin.com/company/backyardth/

]]>
<![CDATA[Agile คืออะไร? ทำไมองค์กรจึงควรเปลี่ยนตัวเองให้เป็น Agile Organization?]]>https://www.backyard.in.th/post/what-is-agile-why-agile-organization6451bd4ba5f25e3542bd55d5Wed, 03 May 2023 02:00:28 GMTkornkanoksu

Agile คืออะไร? ทำไมองค์กรจึงควรเปลี่ยนตัวเองให้เป็น Agile Organization

สมัยนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Agile หลาย ๆ คนคงสงสัยว่าจริง ๆ แล้ว Agile คืออะไรกันแน่? วันนี้ Backyard จะพาทุกคนไปรู้จักกับวิธีการทำงานแบบ Agile ที่องค์กรของคุณควรทำ เพื่อเป็น Agile Organization ที่ประสบความสำเร็จ


Agile คืออะไร?

Agile คือกรอบแนวคิดและวิธีการทำงานที่ให้ความสำคัญกับการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยเฉพาะในสภาวะที่ไม่แน่นอน เพื่อให้ทีมหรือองค์กรสามารถทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นำไปสู่ผลลัพธ์สุดท้ายคือการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าหรือตลาดได้ในทันทีนั่นเอง


Agile แตกต่างจากวิธีการทำงานแบบดั้งเดิมอย่างไร?

โดยปกติแล้ว วิธีการทำงานแบบดั้งเดิมจะดำเนินในลักษณะ Top-Down Management หรือเส้นตรง หรืออธิบายง่าย ๆ คือ เราต้องทำขั้นตอนที่ 1 ให้เสร็จสิ้นก่อนถึงจะสามารถทำขั้นตอนที่ 2 ต่อไปได้ นั่นก็แปลว่าเราไม่สามารถข้ามลัดขั้นตอนได้เลยนั่นเอง

ในขณะที่วิธีการทำงานแบบ Agile นั้นจะเป็นการทำงานที่เน้นไปที่การส่งมอบงานอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพไปพร้อม ๆ กัน โดยไม่ได้เจาะจงว่าเราต้องใช้วิธีนี้หรือขั้นตอนนี้เท่านั้น นอกจากนี้การทำงานแบบ Agile ยังพยายามลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออกไปอีกด้วย โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) แต่ละฝ่ายจะสื่อสารกันเกี่ยวกับความคืบหน้าและฟีดแบคกันและกันอย่างสม่ำเสมอ


วิธีการทำงานแบบดั้งเดิมมีผลเสียอย่างไร?

จากที่อธิบายข้างต้นว่าวิธีการทำงานแบบดั้งเดิมนั้นมักจะเป็นแบบ Waterfall หรือต้องดำเนินแบบเป็นขั้นเป็นตอนตามที่ได้วางแผนไว้ ผลเสียที่ตามมาก็คือการทำงานของทีมหรือองค์กรจะเป็นไปอย่างล่าช้า เพราะแต่ละฝ่ายต่างต้องรออีกฝ่ายทำงานส่วนนั้น ๆ เสร็จซะก่อน นอกจากนี้ยังอาจทำให้ทีมหรือองค์กรไม่สามารถรับรู้ข้อผิดพลาดและแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วย


จะเปลี่ยนองค์กรให้เป็น Agile Organization ได้อย่างไร?

หลักการสำคัญของ Agile มี อยู่ 4 อย่างด้วยกัน ได้แก่

  1. Customer Centricity: ให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นอันดับแรกและเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งที่ทีมหรือองค์กรทำ

  2. Lean: ลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็นออกไป เพื่อทำให้การทำงานง่าย สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น

  3. Technology: นำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการทำงานเพื่อผลักดันให้เกิดการทำงานในดิจิทัลมากขึ้น

  4. Culture: มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีที่เปิดกว้าง พร้อมส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นหรือไอเดียใหม่ ๆ รวมถึงมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ


ประโยชน์ของ Agile

  1. Adaptability: แนวความคิดแบบ Agile ทำให้ทีมหรือองค์กรมีรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น พร้อมปรับตัวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

  2. Delivery Speed to Market: การทำงานแบบ Agile จะช่วยให้องค์กรสามารถเร่งความเร็วในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการให้มีคุณภาพ พร้อมตอบสนองความต้องการของลูกค้าในระยะเวลาอันรวดเร็วได้

  3. Risk Reduction: การมีโครงสร้างและกระบวนการที่สอดคล้องกันทั้งองค์กรจะช่วยให้เห็นถึงความต้องการที่แท้จริง รวมไปถึงปัญหาต่าง ๆ ดังนั้นทีมหรือองค์กรจึงสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที หรือลดความรุนแรงของปัญหาหรือความเสี่ยงลงได้

  4. Maximizing Employee Potential: การทำงานแบบ Agile จะทำให้พนักงานได้ทำงานกับเพื่อนร่วมงานจากหลากหลายทีมหรือแผนก สิ่งนี้จะช่วยให้พนักงานได้พัฒนาทักษะและความสามารถของตนเอง นอกจากนี้การเปิดกว้างทางความคิดจะช่วยส่งเสริมให้พนักงานได้แสดงศักยภาพ ฝึกฝน และเก็บเกี่ยวประสบการณ์การทำงานมากขึ้น


เป็นอย่างไรกันบ้าง รู้จัก Agile กันมากขึ้นแล้วใช่ไหมล่ะ? ประโยชน์มากมายขนาดนี้ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่องค์กรมากมายได้เปลี่ยนตนเองให้เป็น Agile Organization

สำหรับครั้งหน้า Backyard จะมาพูดถึงวิธีการเปลี่ยนองค์กรให้เป็น Agile Organization ในแบบฉบับของเรา แบบ Step by step กันไปเลย! ถ้าใครอยากรู้ อย่าลืมติดตามพวกเราต่อกันด้วยนะ~


สนใจเปลี่ยนองค์กรให้เป็น Agile Organization?

FLOWARD เครื่องมือช่วยในการเปลี่ยนองค์กรให้เป็น Agile Organization จากบริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด (Backyard)

ที่ Backyard เรามีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำแนะนำอย่างมืออาชีพ นอกจากนี้เรายังมีเครื่องมือ FLOWARD ที่จะช่วยให้คุณสามารถปรับเปลี่ยนการทำงานขององค์กรให้เป็น Agile ได้แบบง่าย ๆ สามารถพูดคุยหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลยที่ โทร. 02-853-9131 หรือ info@backyard.in.th หรือกรอกแบบฟอร์มที่นี่ แล้วเราจะรีบติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด


สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Backyard ได้ที่

Facebook – facebook.com/backyardTH/

Linkedin – linkedin.com/company/backyardth/



]]>
<![CDATA[ChatGPT จะ Disrupt บุคลากรทางการแพทย์หรือไม่?]]>https://www.backyard.in.th/post/chatgpt-disrupt-doctors-healthcare-industry64487c06106acd97ecd7b7cfWed, 26 Apr 2023 02:20:52 GMTkornkanoksu

หลาย ๆ คนคงได้ยินข่าวคราวของแชทบอตอัจฉิรยะที่กำลังโด่งดังอย่าง ChatGPT กันมาบ้างแล้วใช่ไหมล่ะ การเปิดตัว ChatGPT ในครั้งนี้ได้มีผู้เชี่ยวชาญหลายคนออกมาบอกว่านี่อาจกลายเป็นการจุดชนวน Tech Disruption ในวงการต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นอีกครั้ง เช่น สายงานแปลภาษา สายงานโปรแกรมเมอร์ เป็นต้น แล้ว ChatGPT จะส่งผลต่อวงการแพทย์อย่างไรบ้าง วันนี้ MEDcury จะพาไปทุกคนสำรวจว่าเทคโนโลยีนี้จะเข้ามาช่วยส่งเสริมการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์หรือดิสรัปต์กันแน่


ChatGPT สอบผ่านใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแพทย์ของสหรัฐ

เมื่อเดือนมีนาคม 2566 ที่ผ่านมา หนังสือ The AI Revolution in Medicine ได้ถูกตีพิมพ์ โดย Dr. Isaac Kohane ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ที่เป็นทั้งแพทย์และ Computer Scientist จาก Harvard ได้พูดถึงความสามารถของ ChatGPT รุ่นล่าสุด หรือ GPT-4 เอาไว้ว่ามันสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแพทย์ของสหรัฐฯ ได้ถูกต้องมากกว่า 90% ซึ่งถือว่าดีกว่าแพทย์ที่มีใบประกอบบางคนด้วยซ้ำ


ChatGPT กับการวินิจฉัยโรคหายากอย่างรวดเร็ว

ในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ ทาง Dr. Isaac ยังได้กล่าวอีกว่าเขาได้ลองทดสอบความสามารถของ ChatGPT โดยยกเคสจริงที่เขาเคยรักษามาให้ระบบได้ลองวินิจฉัยดู โดยงานนี้เขาได้ให้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับคนไข้ที่เขารวบรวมได้จากการตรวจร่างกาย เช่น ระดับฮอร์โมน และผลอัลตราซาวด์ เป็นต้น ซึ่งเจ้า ChatGPT นี้ก็สามารถวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วภายในไม่กี่วินาทีว่าผู้ป่วยคนนี้มีอาการของโรคภาวะบกพร่องฮอร์โมนต่อมหมวกไตแต่กำเนิด (Congenital Adrenal Hyperplasia) ซึ่งเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นเพียงแค่ 1 ใน 100,000 คน นี่จึงเป็นเรื่องที่น่าทึ่งมากเพราะการที่แพทย์จะสามารถวินิจฉัยโรคหายากเช่นนี้ได้นั้นต้องสั่งสมความรู้และประสบการณ์นานหลายปี แต่ ChatGPT กลับสามารถทำได้ง่าย ๆ งานนี้ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าบุคลากรทางการแพทย์ควรจะประทับใจ หรือรู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ กันแน่


ChatGPT ในฐานะผู้ช่วยเสมือนของแพทย์

นอกจากจะเป็นนักเรียนคนเก่งที่สอบได้คะแนนดี และผู้วินิจฉัยโรคมือฉมังแล้วนั้น ChatGPT ยังสามารถอ่านรายงานและผลการศึกษาต่าง ๆ ที่มีความยาวหลายหน้า แล้วสรุปใจความสำคัญให้เสร็จสรรพได้ในพริบตา ซึ่งช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถประหยัดเวลาที่ใช้ไปกับการทำงานบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้เป็นกอง และสุดท้ายแล้วบุคลากรทางการแพทย์จะกลับมามีเวลาดูแลผู้ป่วยมากขึ้นนั่นเอง

ทั้งนี้ หลายคนอาจจะคิดว่า ChatGPT เป็นแค่ระบบหุ่นยนต์ทื่อ ๆ ที่รวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อตอบตามคำสั่ง ไม่มีชีวิตชีวาเหมือนมนุษย์ แต่จริง ๆ แล้วเจ้า ChatGPT นี้ยังสามารถให้คำแนะนำเคล็ดลับที่เป็นประโยชน์กับแพทย์ในการพูดคุยกับผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการป่วยอย่างตรงประเด็น แต่ก็ยังเต็มไปด้วยความเห็นอกเห็นใจได้อีกด้วย


ถ้า ChatGPT อัจฉริยะขนาดนี้ แล้วบุคลากรทางการแพทย์ยังจำเป็นอยู่ไหม?

คำตอบคือจำเป็นแน่นอน! แม้ว่าจากที่กล่าวมา ChatGPT อาจจะดูเป็นระบบที่อัจฉริยะ แต่คำตอบของ ChatGPT ก็ไม่ได้ถูกต้อง 100% เสมอไป โดยในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ได้พูดถึงข้อผิดพลาดของระบบ เช่น การแสดงค่า BMI ที่ผิดพลาด ซึ่งแม้จะดูเหมือนเล็กน้อย แต่จริง ๆ แล้วนี่อาจนำไปสู่ข้อผิดพลาดร้ายแรงในการสั่งยาหรือการวินิจฉัยที่คลาดเคลื่อนได้เช่นกัน


เป็นอย่างไรกันบ้าง บุคลากรทางการแพทย์หลาย ๆ คนอาจจะเบาใจที่ระบบนี้คงไม่ได้เข้ามาแทนที่ตนเองในเร็ว ๆ นี้ แต่ทุกคนคงเห็นถึงความสามารถของมันกันแล้วใช่ไหมล่ะ เพราะฉะนั้น MEDcury ก็ไม่อยากให้ทุกคนนิ่งนอนใจว่า AI ไม่มีวันดีกว่ามนุษย์ เพราะสุดท้ายแล้วเทคโนโลยีนี้จะเข้ามามีบทบาทในวงการแพทย์มากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน


สำหรับใครที่อยากพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีสุขภาพ สามารถติดต่อหรือติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับพวกเรา MEDcury ได้ที่

Website – https://www.medcury.health

Facebook – facebook.com/medcury.health/

Linkedin – linkedin.com/company/medcury

หรือ โทร. 02-853-9131 หรือ support@medcury.health หรือกรอกแบบฟอร์มที่นี่


อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.insider.com/


]]>
<![CDATA[MEDcury จับมือ ‘มูลนิธิพงษ์ศักดิ์ วิทยากร - PRINC’ เปิดตัว ‘ล้ม Look’ ตัวช่วยตรวจจับผู้สูงอายุหกล้ม]]>https://www.backyard.in.th/post/medcury-x-princ-lomlook-health-smart-device-for-elderly6414aa1ee933ab3a3f22b5b1Sat, 18 Mar 2023 01:42:49 GMTkornkanoksu เมื่อ 17 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การประชุม และแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ บริษัท เมดคิวรี จำกัด ร่วมกับมูลนิธิพงษ์ศักดิ์วิทยากร และโรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ พร้อมพันธมิตรภาคเอกชน เปิดตัวโครงการ ‘ล้ม Look’ Every Second We Care และอุปกรณ์ Smart Device ‘ล้ม Look’ สำหรับตรวจจับการพลัดตกหกล้ม และยังเป็นระบบติดตามผลข้อมูลด้านสุขภาพในผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพและมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม ซึ่งจะนำร่องใน 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน และชุมพร ภายในงานนี้ ได้รับเกียรติจากนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พร้อมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ฯลฯ ร่วมชมการสาธิตอุปกรณ์ Smart Device ‘ล้ม Look’ สำหรับตรวจจับการพลัดตกหกล้มในครั้งนี้ด้วย


'ล้ม Look' นวัตกรรมที่ตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุ

คุณพวัสส์ ธนวุฒิศิรวัชร์ ผู้อำนวยการบริหารความสัมพันธ์และพันธมิตร (Executive Relationship Director) บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล หรือ PRINC ผู้ดำเนินธุรกิจบริหารจัดการโรงพยาบาลเอกชนและธุรกิจสุขภาพในนาม ‘เครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์’ กล่าวว่า ผลกระทบที่ตามมาของการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยอย่างเต็มรูปแบบคือมีผู้สูงอายุที่ประสบอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 4 - 5 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุถือเป็นอุบัติเหตุที่พบบ่อย อีกทั้งยังมีความรุนแรงมากกว่าในคนทั่วไป และมักส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่น ๆ เช่น กระดูกสะโพกหัก ศีรษะแตก มีเลือดออกในสมอง ที่อาจนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพ นอนติดเตียง หรือบางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิต หากไม่ได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที ดังนั้นเพื่อลดความรุนแรงและความสูญเสียที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ จึงสร้างความเชื่อมโยงระหว่างผู้ป่วย กับหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินของแต่ละสถานพยาบาล กู้ชีพกู้ภัย ผ่านอุปกรณ์ Smart Device ‘ล้ม Look’ ภายใต้แพลตฟอร์ม ‘หมอในบ้าน’ เพื่อให้ผู้สูงอายุที่ประสบเหตุเข้าถึงบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินโดยทันที


การทำงานของ 'ล้ม Look'

กรณีที่ผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม อุปกรณ์ Smart Device ‘ล้ม Look’ จะทำการส่งข้อมูลสุขภาพไปยังผู้ที่ลงทะเบียนไว้ (ญาติ) และ แพลตฟอร์ม ‘หมอในบ้าน’ ซึ่งประมวลผลได้อย่างแม่นยำ และส่งต่อข้อมูลไปยังศูนย์รับข้อมูลเหตุฉุกเฉิน (Alert Center) ในโครงการ ‘ล้ม Look’ Every Second We Care นำร่องในโรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลพริ้นซ์ ลำพูน จ.ลำพูน และโรงพยาบาลวิรัชศิลป์ จังหวัดชุมพร ตั้งเป้าขยายศูนย์รับข้อมูลเหตุฉุกเฉิน (Alert Center) ไปยังโรงพยาบาลในเครือฯ ให้ครบทั้ง 13 แห่งใน 11 จังหวัดในปี 2567” คุณพวัสส์กล่าว


นำร่องใช้นวัตกรรม ‘ล้ม Look’ ใน 3 จังหวัด และพร้อมขยายขอบเขตการให้บริการ

คุณจตุพล ชวพัฒนากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Chief Executive Officer) บริษัท เมดคิวรี จำกัด (MEDcury) บริษัทผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) และนวัตกรรมด้านสุขภาพ ภายใต้แพลตฟอร์ม “หมอในบ้าน” กล่าวว่า โครงการ “ล้ม Look” Every Second We Care ในเฟสแรกจะเปิดรับสมัครผู้สูงอายุที่เข้าเกณฑ์ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และชุมพร ประมาณเดือนเมษายน 66 ผ่านทาง www.lomlook.com/ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย


ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเปิดรับพันธมิตร ทั้งนักลงทุน ภาครัฐและเอกชน สถานพยาบาล รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายพื้นที่และศักยภาพในการดูแลและให้บริการกับผู้สูงอายุในแต่ละพื้นที่ เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุได้รับการช่วยเหลือฉุกเฉินอย่างทันท่วงที ลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บหนัก หรือเสียชีวิตได้ และยังเป็นการลดงบประมาณสาธารณสุขของประเทศในระยะยาวด้วย ซึ่งประชาชนหรือพันธมิตรภาคเอกชนที่สนใจร่วมโครงการดังกล่าว สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.lomlook.com/” คุณจตุพลกล่าวทิ้งท้าย



]]>
<![CDATA[7 ประโยชน์จากการใช้ HIE ต่อธุรกิจโรงพยาบาล]]>https://www.backyard.in.th/post/7-benefits-of-health-information-exchange-hie-for-hospital640feb3832cd76d57ace324dTue, 14 Mar 2023 04:28:10 GMTkornkanoksu

ตามที่ MEDcury ได้กล่าวไปในบทความ “HIE ตัวช่วยในการทำงานของแพทย์” และ “HIE กับก้าวต่อไปของธุรกิจโรงพยาบาล” ว่าการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพ​ (Health Information Exchange) หรือ HIE ทำให้แพทย์ระหว่างโรงพยาบาลสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยได้อย่างไร้รอยต่อ แล้วเทคโนโลยีนี้มีประโยชน์อย่างไรกับโรงพยาบาล บทความนี้มีคำตอบ!


1. ปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย

HIE จะทำให้แพทย์สามารถเข้าถึงประวัติการรักษาของผู้ป่วยจากโรงพยาบาลเดิมที่เข้าร่วมโครงการได้อย่างครบถ้วน รวดเร็ว สะดวก และปลอดภัย พร้อมนำมาประกอบการรักษาผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที ถือเป็นการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในการรักษาของแพทย์ภายในโรงพยาบาล


2. สร้างประสบการณ์ที่ดีและเพิ่มความพึงพอใจของผู้ป่วย

เมื่อแพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายเช่นนี้ ผู้ป่วยก็ไม่จำเป็นต้องเดินทางเพื่อกลับไปขอประวัติการรักษาจากโรงพยาบาลเดิมอีกต่อไป และแพทย์ที่มีข้อมูลครบมือก็สามารถทำการรักษาผู้ป่วยได้อย่างตรงจุด ทันท่วงที และไม่ซ้ำซ้อน แน่นอนว่าสิ่งนี้จะช่วยเพิ่มความพึงพอใจและประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยได้เป็นอย่างมาก และอาจทำให้ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยต้องการกลับมาใช้บริการที่โรงพยาบาลซ้ำ หากมีความจำเป็นในอนาคต


3. สร้างการบอกต่อที่ดี

การบอกเล่าประสบการณ์การใช้บริการแก่ผู้อื่นถือเป็นหนึ่งในพฤติกรรมผู้บริโภค เมื่อผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยพึงพอใจในผลการรักษาหรือบริการที่ได้รับจากแพทย์และบุคลากรของโรงพยาบาล ก็อาจทำให้ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยมีการบอกต่อเกี่ยวกับโรงพยาบาลในเชิงบวก ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยท่านอื่น ๆ ต้องการมาใช้บริการที่โรงพยาบาลของคุณเพิ่มมากขึ้นด้วย


4. รักษาความน่าเชื่อถือและชื่อเสียงของโรงพยาบาล

ความน่าเชื่อถือและชื่อเสียงถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในธุรกิจโรงพยาบาล HIE ซึ่งเป็นสื่อกลางที่ทำให้แพทย์มีข้อมูลที่ครบครันนั้น จึงเป็นหนึ่งตัวช่วยสำคัญของโรงพยาบาลในการลดการเกิดความผิดพลาดทางการแพทย์ (Medical Errors) และความคลาดเคลื่อนทางยา (Medication Error) ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของโรงพยาบาลลงไปได้ เช่น การจ่ายยาซ้ำซ้อน การจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยา หรือการจ่ายยาที่มีปฏิกิริยาต่อกันของยา เป็นต้น


5. ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น

HIE เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาพลิกโฉมวงการดูแลสุขภาพด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและการทำงานร่วมกันระหว่างโรงพยาบาล ทำให้สามารถส่งต่อข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยได้อย่างไร้รอยต่อ ดังนั้นจึงเป็นการลดภาระงานเอกสารด้านการรับและส่งต่อผู้ป่วยที่ไม่จำเป็น ทำให้โรงพยาบาลสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลงไปได้


6. สร้างภาพลักษณ์ในเชิงบวก

ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ภาคธุรกิจจึงต้องมีการปรับตัวพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation) ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจโรงพยาบาล และหนึ่งในวิธีการปรับตัวนั้นก็คือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง HIE เข้ามาช่วยเสริมศักยภาพธุรกิจ แน่นอนว่าโรงพยาบาลจะได้รับประโยชน์มากมายตามที่ได้กล่าวมา แต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งโรงพยาบาลจะได้ นั่นก็คือ “ภาพลักษณ์ที่ทันสมัยและเท่าทันต่อยุคดิจิทัล” นั่นเอง


7. ต่อยอดโอกาสทางการแพทย์และโอกาสทางธุรกิจจากข้อมูล

HIE จะทำให้โรงพยาบาลสามารถเข้าถึงคลังข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) จากผู้ป่วยที่ให้ความยินยอมได้ โดยในอนาคต โรงพยาบาลอาจนำข้อมูลเหล่านี้ไปต่อยอดการดำเนินธุรกิจโรงพยาบาลในด้านต่าง ๆ ได้ เช่น การเพิ่มศักยภาพการรักษาพยาบาลด้วยการพัฒนา Artificial Intelligence ทางการแพทย์ การเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรหรือการใช้ประโยชน์ทางการตลาดโดยใช้ Data Analytics เป็นต้น สามารถดูตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากข้อมูลใน HIE ในต่างประเทศได้ในบทความ "HIE เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อธุรกิจโรงพยาบาล"


เป็นอย่างไรกันบ้าง ประโยชน์เพียบเลยใช่ไหมล่ะ ทั้งหมดนี้จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมโรงพยาบาลถึงไม่ควรพลาดที่จะนำเทคโนโลยี HIE เข้ามาใช้ในโรงพยาบาลนั่นเอง


ที่ MEDcury เราได้พัฒนานวัตกรรม MEDconnext แพลตฟอร์มข้อมูลที่จะเข้ามาช่วยในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสุขภาพระหว่างโรงพยาบาลและการบริหารจัดการโรงพยาบาลให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย พวกเรา MEDcury พร้อมมอบประสบการณ์ในการทำงานในโรงพยาบาลที่ดีที่สุดให้แก่คุณเท่าที่จะเป็นไปได้ผ่านเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย

สำหรับผู้ที่สนใจนวัตกรรม MEDconnext สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก MEDcury เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ โทร. 02-853-9131 หรือ support@medcury.health หรือกรอกแบบฟอร์มที่นี่


และใครที่อยากพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีสุขภาพ สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MEDcury ได้ที่

Website – https://www.medcury.health

Facebook – facebook.com/medcury.health/

Linkedin – linkedin.com/company/medcury


]]>
<![CDATA[ทำความรู้จัก Center of Excellence (CoE) กุญแจสำคัญของโปรเจค RPA]]>https://www.backyard.in.th/post/get-to-know-center-of-excellence-coe-bypass63fd6de9a44e73f1051acaecTue, 28 Feb 2023 03:51:02 GMTkornkanoksu

การนำ RPA เข้ามาใช้ในองค์กรนั้น นอกจากเรื่องเทคโนโลยีแล้ว ยังมีเรื่องของคน (People) และกระบวนการ (Process) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย หรือที่เรามักคุ้นเคยกันในชื่อ "PPT Concept" วันนี้ Backyard เลยจะพาทุกคนไปรู้จักกับ Center of Excellence ทีมดำเนินการบริหารจัดการการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ควบคู่ไปกับการอบรมฝึกฝนบุคลากรในองค์กรให้มีความรู้และความสามารถเหมาะสมกับเทคโนโลยีนั้น จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ตามมาดูกันเลยดีกว่า!


Center of Excellence (CoE) คืออะไร?

Center of Excellence หรือศูนย์ความเป็นเลิศ คือการรวมตัวกันของเหล่าทีมงานจากหน่วยงานหรือแผนกต่าง ๆ เพื่อเป็นทีมศูนย์กลางในการพัฒนาและผลักดันการใช้งานระบบ RRA ตั้งแต่การวางแผนไปจนถึงการลงมือทำ เพื่อให้การใช้ RPA ภายในองค์กรป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ราบรื่น และทั่วถึง


หน้าที่ของ Center of Excellence

หน้าที่หลัก ๆ ของ CoE มีดังนี้

  • วางแผนและกำหนดนโยบาย (Policy) และขอบเขตโครงร่างของระบบ (Framework) หรือแผนงาน (Roadmap) เพื่อใช้เป็นแนวทางนำทางไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้

  • สรรหาเทคโนโลยีที่จะเป็น Solution ที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาในการทำงานรูปแบบเดิม ๆ หรือเพื่อพัฒนาการทำงานรูปแบบใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมรองรับงานในอนาคต และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรตามที่ได้วางแผนเอาไว้ รวมถึงขยายขอบเขตการใช้งาน RPA ให้ทั่วถึงทั้งองค์กร

  • สร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ RPA และพัฒนาทักษะของพนักงานในองค์กรให้สามารถใช้งาน RPA ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ควบคุมดูแลรักษาระบบ RPA ให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง


4 เหตุผล Center of Excellence มีประโยชน์อย่างไร?

  • สำหรับเสื้อผ้า เราอาจจะซื้อแบบ One-size-fits-all ใส่ก็ได้ แต่การพัฒนาระบบ RPA นั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพื่อให้ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้ใช้งานและองค์กรมากที่สุด ระบบ RPA จึงควรพัฒนาแบบ Tailor-made การมีทีม CoE ที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากแต่ละด้านเอาไว้จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรของคุณจะได้ใช้ RPA ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

  • การมี CoE จะช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการพัฒนา New Automation Process เนื่องจาก CoE จะได้รับข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือแผนกต่าง ๆ แล้วเรียงลำดับความสำคัญของงานตามความเหมาะสมได้ ทำให้งานไม่ไปกระจุกอยู่ที่แผนก IT เพียงแผนกเดียวอีกต่อไป

  • หากคุณต้องการขยายขอบเขตการใช้งาน RPA ให้ทั่วถึงทั้งองค์กร CoE ถือเป็นทีมที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพาคุณไปถึงเป้าหมายนั้น เพราะ CoE จะเปรียบเสมือนคลังข้อมูลกลางที่จะมาแบ่งปันความรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ RPA รวมไปถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อสร้างความไว้วางใจในเทคโนโลยี นอกจากนี้ CoE ยังเป็นตัวช่วยให้คนในองค์กรปรับตัวให้เข้ากับการทำงานด้วย RPA ในช่วงเริ่มต้นให้เป็นไปอย่างราบรื่นได้

  • สมัยนี้อะไร ๆ ก็พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีระบบอัติโนมัติ (Automation) ก็เช่นกัน ดังนั้น CoE ถือเป็นทีมสำคัญที่จะคอยติดตามเทรนด์เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรของคุณมีฟีเจอร์ที่มีความสามารถเพียงพอ รวมถึงพร้อมปรับปรุงใหม่ให้ก้าวทันยุคสมัยอยู่เสมอ


Center of Excellence ที่ดีควรเป็นอย่างไร?

ทริคง่าย ๆ สำหรับการก่อตั้ง CoE คือ CoE นั้นควรประกอบไปด้วยบุคลากรทั้งจากฝั่งที่เชี่ยวชาญด้านเทคนิค และบุคลากรจากฝั่งที่เชี่ยวชาญด้านธุรกิจหรือฝั่งปฏิบัติการด้วยนั่นเอง


จะเริ่มจัดตั้ง CoE อย่างไร?

เราสามารถเริ่มจัดตั้ง CoE โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากสายงานต่าง ๆ มารวมตัวกัน ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรจากฝั่งปฏิบัติการ และฝั่งไอที รวมถึงฝั่งผู้บริหารด้วย หลังจากนั้นจึงกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบของแต่ละคนไว้อย่างชัดเจน และให้แต่ละคนดำเนินการตามความรับผิดชอบของตนเองอย่างเต็มที่ เพื่อให้การพัฒนาและใช้ประโยชน์จาก RPA เกิดขึ้นจริง มีประสิทธิภาพ ราบรื่น และทั่วถึง


เป็นอย่างไรกันบ้าง เห็นแล้วใช่ไหมว่านอกจากเรื่องเทคโนโลยีแล้ว ยังมีเรื่องคนและกระบวนการเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และทีม CoE นี้ถือเป็นกุญแจสำคัญในการปรับปรุงกระบวนการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงช่วยให้บุคลากรในองค์กรมีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถเพียงพอเหมาะสมกับการใช้เทคโนโลยีนั้นอีกด้วย


สนใจนำ RPA เข้ามาใช้ในองค์กร?

ที่ Backyard เราพร้อมให้คำแนะนำอย่างมืออาชีพ และเราไม่ได้แค่ออกแบบ RPA ธรรมดา แต่เป็น RPA ที่เหมาะสมกับองค์กรของคุณโดยเฉพาะ สามารถพูดคุยหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่ โทร. 02-853-9131 หรือ info@backyard.in.th หรือกรอกแบบฟอร์มที่นี่ แล้วเราจะรีบติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด และอย่าลืมให้ BYpass เป็น RPA ที่จะเป็น Solution อันชาญฉลาดในการขับเคลื่อนองค์กรของคุณให้เติบโตอย่างยั่งยืน


สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Backyard ได้ที่

Facebook – facebook.com/backyardTH/

Linkedin – linkedin.com/company/backyardth/

]]>
<![CDATA[3 แนวทางพาโรงพยาบาล Go Green ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล]]>https://www.backyard.in.th/post/3-ways-green-hospital-digital-techonology63ccc1dfbdefae0e996f4da6Sun, 22 Jan 2023 05:30:02 GMTkornkanoksu

หนึ่งในเทรนด์โลกที่ถูกคาดการณ์ไว้คือเทรนด์ Sustainability, Eco-friendly และ Climate-friendly ซึ่งหลาย ๆ องค์กรในประเทศต่าง ๆ ก็ได้เริ่มดำเนินการกันไปแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าเทรนด์นี้ไม่ใช่แค่เทรนด์ปีหน้าที่จะอยู่แค่ชั่วคราวเท่านั้น แต่จะเป็นเทรนด์แห่งโลกอนาคตเลยทีเดียว แล้วธุรกิจโรงพยาบาลจะสามารถตามเหล่านี้เทรนด์นี้ได้อย่างไร วันนี้ MEDcury จะมาแชร์ 3 แนวทางพาโรงพยาบาล Go Green อย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม



1. Digitization : เปลี่ยนข้อมูล Analog ให้เป็นข้อมูล Digital

Digitization คือการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในรูปแบบกายภาพหรือ Analog ให้เป็นข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลแทน เช่น การเปลี่ยนภาพถ่ายให้เป็นไฟล์ภาพ การเปลี่ยนเอกสารกระดาษให้เป็นไฟล์ดิจิทัล เป็นต้น ดังนั้นวิธีนี้จึงเป็นการลดการใช้กระดาษและลดปริมาณการสร้างขยะได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในธุรกิจโรงพยาบาล ที่มีข้อมูลที่น่าตกใจจาก CynergisTek ว่าโรงพยาบาลขนาดเฉลี่ย 1,500 เตียงนั้นมีการใช้เอกสารกระดาษมากกว่า 8 ล้านหน้าต่อเดือน ซึ่งถือเป็นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว


2. Digitalization : ใช้เทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน (Workflow)

Digitalization คือการใช้เทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน (Workflow) ต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ซึ่งจะทำให้โรงพยาบาลได้รับประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการลดความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ (Human Error) และเพิ่มความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) ที่อาจมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ รวมถึงเป็นการลดการใช้ทรัพยากรและค่าใช้จ่ายอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย



เทคโนโลยีเพื่อการทำ Digitalization ภายในโรงพยาบาล

มีเทคโนโลยีมากมายที่โรงพยาบาลสามารถนำมาใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น

1. การใช้ Electronic Medical Record (EMR) แทนการใช้เวชระเบียนกระดาษ

2. การใช้ Health Information System (HIS) เพื่อจัดเก็บและจัดการข้อมูลของทั้งโรงพยาบาลแบบครบวงจรบนระบบดิจิทัล

3. การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลโดยใช้ Health Information Exchange (HIE)

4. การให้บริการผ่าน Telemedicine เพื่อลดข้อจำกัดด้านสถานที่

นอกจากประโยชน์ที่ได้กล่าวถึงในข้างต้นแล้ว การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ยังสามารถเพิ่มความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการ และช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับโรงพยาบาลทั้งในแง่ของการเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม อีกทั้งยังทันสมัยอีกด้วย


3. Cloud Computing : เก็บข้อมูลไว้บนก้อนเมฆ

Cloud Computing คือ ระบบเก็บข้อมูลและประมวลผลระบบสารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้งานจึงสามารถใช้งานได้ตามต้องการ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ อุปกรณ์ ปริมาณ หรือเวลา นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เราเรียกว่า Cloud เพราะเราเก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้อยู่ใกล้ตัวเรา แต่อาจจะอยู่ห่างไกลกันออกไปคนละซีกโลกเลยก็ว่าได้ เปรียบเสมือนข้อมูลนั้นอยู่บนก้อนเมฆนั่นเอง

หนึ่งในเทคโนโลยีของ Cloud Computing ที่จะช่วยพาโรงพยาบาล Go Green ได้นั่นก็คือ HIS On Cloud หลาย ๆ คนคงสงสัยว่าเทคโนโลยีนี้จะช่วยโรงพยาบาลได้อย่างไร เราอยากให้ลองนึกถึงปริมาณไฟฟ้าที่คุณต้องใช้เพื่อให้เซิร์ฟเวอร์ HIS On-Premise ทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงแสงสว่าง และเครื่องปรับอากาศเพื่อให้ทุกอย่างอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม แน่นอนว่าไฟฟ้าที่ถูกใช้นั้นมีปริมาณมหาศาลเลยแหละ แต่สำหรับ HIS On Cloud นั้นโรงพยาบาลไม่จำเป็นต้องติดตั้งทั้ง Software และ Hardware เอง พอไม่มีของพวกนี้ คุณก็ไม่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้า หรือถ้ามี ก็มีในปริมาณที่น้อยลง ทำให้คุณใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยลงไปด้วย นั่นจึงทำให้คุณสามารถพาโรงพยาบาล Go Green ได้ตามเป้าหมาย

นอกจากนี้ HIS On Cloud ยังสามารถช่วยโรงพยาบาลลดต้นทุนแฝงในหลาย ๆ ด้านได้ เช่น ต้นทุนในบริหารจัดการด้านบุคคลเพื่อรับผิดชอบในงานดูแลบำรุงรักษาระบบ และต้นทุนในการบริหารทรัพยากรอื่น ๆ เช่น พลังงานไฟฟ้า สถานที่ เป็นต้น โดยจากข้อมูลของ Microsoft Corporation และ WSP Global Inc. ระบุว่าการใช้ Cloud Computing นั้นช่วยประหยัดพลังงานกว่าศูนย์ข้อมูลแบบ On-Premise มากถึง 93% เลยทีเดียว นอกจากนี้ผลวิจัยจาก Berkeley Lab และ Northwestern University ก็พูดในทำนองเดียวกันว่าธุรกิจสามารถประหยัดต้นทุนด้านพลังงานได้มากถึง 60% - 85% เมื่อเปลี่ยนมาใช้ Cloud-based Services แทนอีกด้วย


เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับ 3 แนวทางที่เรานำมาฝาก หวังว่าทุกคนจะลองนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและนวัตกรรมเข้ามาใช้เพื่อช่วยให้เราสามารถใช้พลังงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเป็นมิตรกับโลกไปพร้อม ๆ กัน เพื่อช่วยทำให้โลกของเราดีขึ้น แล้วมาสร้าง Green Ecosystem ให้สมบูรณ์แบบอย่างยั่งยืนไปด้วยกันนะ


สำหรับใครที่อยากพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านสุขภาพ สามารถพูดคุยกับพวกเรา MEDcury ได้ที่ โทร. 02-853-9131 หรือ support@medcury.health


หรือสามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MEDcury ได้ที่

Website – https://www.medcury.health

Facebook – facebook.com/medcury.health/

Linkedin – linkedin.com/company/medcury


อ้างอิงข้อมูลจาก

]]>