top of page

Teletriage คืออะไร?


บุคลากรทางการแพทย์คงรู้กันดีว่ามีหลายครั้งที่ผู้ป่วยมาที่แผนกฉุกเฉิน รอคอยเป็นระยะเวลานาน แต่สุดท้ายก็ต้องกลับบ้านไปแบบไม่ได้รับการรักษา หรือยิ่งในยุคโควิด-19 เช่นนี้ เราไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่าผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงอะไรบ้าง ดังนั้นจะดีกว่าไหมถ้าเรามีเทคโนโลยีที่สามารถช่วยให้เราสามารถตรวจคัดกรองความเสี่ยงหรือความฉุกเฉินของผู้ป่วยได้ก่อน เพื่อให้ผู้ป่วยรับทราบความเสี่ยงของตนเองก่อนเดินทางมาโรงพยาบาล วันนี้ MEDcury จะพาทุกคนไปรู้จักกับเทคโนโลยี Teletriage ตัวช่วยประเมินความเสี่ยงและความฉุกเฉินของผู้ป่วยก่อนเดินทางมาโรงพยาบาล


Teletriage คืออะไร?

Teletriage คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ช่วยในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยด้วยการประเมินความเสี่ยงจากทางไกล ไม่ว่าจะผ่านทางวิดีโอคอล หรือรูปแบบอื่น ๆ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถประเมินความเสี่ยง แนะนำช่องทางการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่เหมาะสม และกำหนดเวลานัดหมาย เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาลในเคสที่ไม่มีความเสี่ยง รวมถึงเพื่อที่บุคลากรทางการแพทย์จะได้เตรียมความพร้อมก่อนที่ผู้ป่วยจะเดินทางมาถึงโรงพยาบาล


5 ประโยชน์ของ Teletriage ต่อโรงพยาบาล

1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์

2. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการความหนาแน่นของผู้ป่วย

3. ช่วยลดความแออัดในสถานพยาบาล

4. ช่วยพัฒนาคุณภาพของการบริการ

5. ช่วยเพิ่มความพึงพอใจของผู้ป่วย


4 ประโยชน์ของ Teletriage ต่อบุคลากรทางการแพทย์

1. ช่วยให้แพทย์ประจำแผนกฉุกเฉินได้มุ่งเน้นการรักษาไปที่ผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างแท้จริง

2. ช่วยเพิ่มความมั่นใจในการรักษาให้กับบุคลากรทางการแพทย์

3. ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคติดต่อให้แก่บุคลากรทางการแพทย์

4. ช่วยให้บริการตามอาการของผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที


3 ประโยชน์ของ Teletriage ต่อผู้ป่วย

1. ได้รับทราบความเสี่ยงของตนเองก่อนเดินทางมาถึงโรงพยาบาล

2. ไม่ต้องเสียเวลา ไม่ว่าจะจากการเดินทางหรือการนั่งรอคิวนาน ๆ เพื่อรับการรักษาที่โรงพยาบาล

3. ได้รับการดูแลในระดับที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที


ประโยชน์และประสิทธิภาพของการใช้ Teletriage ในการทำงานจริง

สำหรับประสิทธิภาพของ Teletriage นั้น MEDcury ขอยกตัวอย่างจากเครือโรงพยาบาล Jefferson Health ของมหาวิทยาลัย Thomas Jefferson University ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ทาง Senior Vice President ด้านนวัตกรรมสุขภาพของมหาวิทยาลัยได้ออกมาพูดว่าในช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 เทคโนโลยีนี้ช่วยลดอัตราการมาที่แผนกฉุกเฉินแต่ไม่ได้รับการรักษาให้เหลือน้อยกว่า 1% ได้ รวมไปถึงเมื่อมีเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 เทคโนโลยีนี้ก็ยังช่วยเพิ่มความสามารถให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในการแยกกลุ่มผู้ป่วยและเตรียมการป้องกัน โดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงว่าอาจเป็นโรคติดต่อ สำหรับผู้ป่วยของเครือโรงพยาบาล Jefferson Health นั้นใช้เวลารอคอยทำ Teletriage เฉลี่ยเพียง 9 นาทีเท่านั้น ซึ่งช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เพราะในผู้ป่วยฉุกเฉินก็ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที ส่วนผู้ป่วยที่ไม่ฉุกเฉินก็ไม่ต้องไปเสียเวลาเดินทางหรือนั่งรอนาน ๆ แต่สุดท้ายต้องกลับบ้านไปแบบยังไม่ได้รับการรักษา

จะเห็นได้ว่า Teletriage นั้นมีประโยชน์ทั้งกับบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วย ซึ่งจะส่งผลดีกับทางโรงพยาบาลในท้ายที่สุด ไม่ว่าจะเป็นด้านประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร คุณภาพการให้บริการ รวมถึงชื่อเสียงของโรงพยาบาลด้วย


เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับเทคโนโลยีนี้ มีประโยชน์สุด ๆ เลยใช่ไหมล่ะ และคราวหน้าเราจะมาพูดถึงสถานการณ์การใช้เทคโนโลยี Teletriage ในประเทศไทย รวมถึงแนวทางการนำเทคโนโลยีมาใช้ในประเทศไทยด้วย เพราะฉะนั้นอย่าลืมกดติดตามเพื่อที่คุณจะได้ไม่พลาดคอนเทนต์ใหม่ ๆ จากพวกเรา MEDcury ได้ที่


สำหรับใครที่อยากพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านสุขภาพ สามารถพูดคุยกับพวกเรา MEDcury ได้ที่ โทร. 02-853-9131 หรือ support@medcury.health


อ้างอิงข้อมูลจาก

bottom of page